กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างฟันสวย ยิ้มสดใส เพื่อ เด็กระแว้งฟันดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

รพ.สต.ระแว้ง

อามานีเปาะสา

รพ.สต.ระแว้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาโรคฟันผุในเด็กวัยเรียนมีมากขึ้น โดยสาเหตุมาจากปัจจัยแวดล้อมหลายด้านสาเหตุหลักมาจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ปกครองไม่มีเวลาที่จะให้ความสนใจดูแลสุขภาพร่างกายของเด็ก เนื่องจากต้องทำงานนอกบ้าน และทิ้งให้เด็กอยู่ในการดูแลของตากับยายสาเหตุจากอาหารที่มีรูปแบบและลักษณะที่ดึงดูด การโฆษณาที่ชวนเชื่อความหวาน สีสัน ที่ชวนให้ต้องซื้อมาบริโภคทั้งที่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหารที่เพียงพอแต่อย่างใด ส่วนประกอบหลักของอาหารนั้นประกอบด้วยน้ำตาล แป้ง เกลือ และสารปรุงแต่งอาหาร ซึ่งขนมเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดฟันผุ ประกอบกับที่เด็กและผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพทั้งทางร่างกายและช่องปากทำให้มีปัญหาฟันผุตามมา
โรคฟันผุไม่ได้ส่งผลเสียเฉพาะแค่ทำให้ฟันไม่สวยหรือเคี้ยวข้าวไม่ได้เท่านั้น แต่ยังทำให้เด็กต้องได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานจากการปวดฟัน รับประทานอาหารได้น้อย ทำให้มีพัฒนาการที่ไม่ดี ต้องสูญเสียฟันก่อนเวลาอันควร และในบางครั้งอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตหรือเสียอวัยวะได้ หากเด็กมีฟันที่เป็นหนองเรื้อรังร่วมกับสุขภาพที่อ่อนแอ และไม่ได้รับการใส่ใจให้ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพและแก้ปัญหาฟันผุในเด็กวัยเรียนจึงจำเป็นต้องปรับแนวคิดและแนวทางการดำเนินให้เป็นระบบ โดยมีผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดและทำโดยเฉพาะครูประจำชั้นและตัวเด็กนักเรียนเอง โดยระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนจึงจะสามารถจัดการกับปัญหาฟันผุในเด็กวัยเรียนอย่างได้ผลและยั่งยืน
ด้วยเหตุนี้ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระแว้ง จึงได้จัดทำโครงการสร้างฟันสวย ยิ้มสดใส เพื่อ เด็กระแว้งฟันดี ขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพ ให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น พร้อมจัดระบบบริการด้านทันตสุขภาพที่มีคุณภาพ ครอบคลุม ตอบสนองความจำเป็นของนักเรียน และสอดคล้องกับเงื่อนไขของพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนประถมศึกษาในตำบลได้รับการตรวจฟันครอบคลุม ได้ร้อยละ90 2.เพื่อให้โรงเรียนในตำบลระแว้งมีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ได้ทุกวัน 3.เพื่อให้มีแกนนำทันตสุขภาพในโรงเรียน ในการดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมป้องกันฟันผุ ในโรงเรียนได้

1.นักเรียนประถมศึกษาในตำบลได้รับการตรวจฟันครอบคลุม ร้อยละ90           2.โรงเรียนในตำบลระแว้งมีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ทุกวัน 3.มีแกนนำทันตสุขภาพในโรงเรียน ในการดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมป้องกันฟันผุ ในโรงเรียน

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 4
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฟันสวย ยิ้มสดใส เพื่อ เด็กระแว้งฟันดี

ชื่อกิจกรรม
ฟันสวย ยิ้มสดใส เพื่อ เด็กระแว้งฟันดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 การตรวจฟันนักเรียนประถมศึกษาให้ครอบคลุม
               ๑. กิจกรรมตรวจฟันนักเรียนโดยทันตบุคลากร แบ่งเป็น 2 โรงเรียน   จำนวน 10 วัน         2. สอนฝึกแปรงฟันที่ถูกที่วิธีด้วยยาสีฟันที่ถูกวิธีก่อนการตรวจฟัน     กิจกรรมที่ 2 การฝึกอบรมแกนนำทันตสุขภาพ     
               ๑. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคฟันผุและโรคเหงือก ๒. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลและป้องกันฟันผุ
3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธีด้วยยาวีฟันผสมฟลุออไรด์ 4. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างง่าย         4.สรุปผลการดำเนินโครงการ งบประมาณ งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลระแว้ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ปี พ.ศ. ๒๕66
    จำนวน 30 ,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าร้อยบาทถ้วน) รายละเอียดค่าใช้จ่ายงบประมาณ ดังนี้ ค่าจัดทำป้ายโครงการ ขนาด ๑.๒ ม. x 3 ม. จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน 9๐๐ บาท
ค่าชุดสาธิต เพื่อฝึกทักษะการแปรงฟันชุดละ 2,000 บาท  จำนวน 3 ชุด 6,000 บาท
ค่าอุปกรณ์แปรงฟันให้เด็กนักเรียน  อันละ 20 บาท จำนวน 501 คน  10,020 บาท ค่าอาหารกลางวันในการอบรมแกนนำ  ๑ มื้อ ๆ ละ 50 บาท/คน จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,500 บาท     ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒ มื้อๆ ละ ๒5 บาท/คน 30 คน เป็นเงิน 1,500 บาท ค่าวิทยากรอบรมแกนนำ     600 บาท 2 คน 1200 บาท ค่าวิยากรใความรู้ในโรงเรียน 10 วัน วันละ 300 บาท 3000 บาท ค่าอุปกรณ์วัสดุสำนักงาน  5,880 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนประถมศึกษาได้รับการตรวจฟันครอบคลุม            2.โรงเรียนในตำบลระแว้งมีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ทุกวัน     3.มีรูปแบการดำเนินกิจกรรมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาที่ชัดเจน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ถั่วเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนประถมศึกษาได้รับการตรวจฟันครอบคลุม
2.โรงเรียนในตำบลระแว้งมีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ทุกวัน
3.มีรูปแบการดำเนินกิจกรรมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาที่ชัดเจน


>