กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางเป้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างโภชนาการ ลดพุง ลดโรค หมู่ที่ 7

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางเป้า

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 7

1. นางศรีพรรณ ชาตรีวงศ์
2. นางสาวอาเสียะ ไมหมาด
3. นางวรนาถ ปานชาตรี
4. นางปราณี ชาชา
5. นางสุจินต์ สุขแก้ว

หมู่ที่ 7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสังคมของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไปจากอดีตดังจะเห็นได้จากบริบทการทำงานเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปมีการแข่งขันทั้งทางด้านข่าวสารสารสนเทศและเทคโนโลยีทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคมต้องเร่งรีบและแข่งขันตามกลไกเศรษฐกิจแต่ในความเจริญนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นด้วยไม่ว่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรมสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ ปัญหาหมอเถื่อน แต่ระบบเศรษฐกิจนั้นยังคงดำเนินไปเรื่อยๆ โดยที่ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรมนุษย์นั้นไม่ยั่งยืนและพัฒนาขึ้นเพราะร่างกายมนุษย์เสื่อมลงตามกาลเวลาประกอบกับมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น แต่เวลาในการดูแลสุขภาพของตนเองกลับน้อยลง เกิดปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนหันไปพึ่งพาสินค้าที่จะทำให้สุขภาพดีจากสื่อต่างๆ เช่น ยาลดความอ้วน น้ำสมุนไพรต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นและมีราคาแพง ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพด้วยวิธีที่ง่ายและได้ผล จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดีนัก
และจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่มีผลอย่างมากต่อสุขภาวะของมนุษย์ พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเจ็บป่วยของบุคคลนั้นๆ จากสถานการณ์ของคนไทยในปัจจุบัน พบว่า โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้นๆ ปัจจุบันคนไทยมีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร รสหวาน มัน เค็มเพิ่มขึ้น รับประทานผักและผลไม้ลดลง และขาดการออกกำลังกาย
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลบางเป้า จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างโภชนาการ ลดพุง ลดโรค ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีความตะหนักถึงการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย เพื่อการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสภาวะร่างกาย
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสภาวะร่างกาย
0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพร่างกายที่ดี/ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ตามมาตรฐาน จากการออกกำลังกาย
  1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพร่างกายที่ดี/ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ตามมาตรฐาน จากการออกกำลังกาย
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. วัดดัชนีมวลกาย และรอบเอว แก่กลุ่มเป้าหมาย

   2. กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง
  - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. (อ.อาหาร + อ.ออกกำลังกาย + อ.อารมณ์)

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14950.00

กิจกรรมที่ 2 ออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมออกกำลังกาย ด้วยผ้าขาวม้า (ทุกวัน เวลา 17.00 – 18.00 น.) เป็นเวลา 3 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 สิงหาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสภาวะร่างกาย
2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีสุขภาพร่างกายที่ดี/ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ตามมาตรฐาน จากการออกกำลังกาย


>