กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางเป้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเตรียมความพร้อมผู้สูงวัย ห่างไกล อัลไซเมอร์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางเป้า

กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบางเป้า

1. นางสาวศศิธร เกลือกลิ่น

กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบางเป้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในภาวะเช่นนี้คือ การเตรียมพร้อมเพื่อการป้องกันการเกิดโรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาพร้อมๆ กับอายุที่ยืนยาวขึ้น และหนึ่งในโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คือ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอายุที่มากขึ้น
โรคอัลไซเมอร์ เป็นความผิดปกติที่สมองทำงานด้อยลงจากเดิมจนมีผลกระทบต่อการทำงานหรือ การใช้ชีวิตประจำวันของบุคคลนั้นๆ และทำให้ความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด ความคิด การตัดสินใจ เปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง นอกจากนี้ปัญหาสำคัญที่พบในผู้ป่วยมี 2 ประการ คือ ปัญหาความจำและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึ่งพบว่าผู้ป่วยจะมีการสูญเสียความจำระยะสั้นก่อนแล้วจึงสูญเสียความจำระยะยาว ตลอดจนความสามารถในการตัดสินใจทำให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลและครอบครัวที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อระมัดระวัง การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลอย่างมากในหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านจิตใจเพราะทำให้เกิดความเครียดที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต จนบางครั้งอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในบางราย
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบางเป้า ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมผู้สูงวัย ห่างไกลอัลไซเมอร์ ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรค ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงวัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์
  1. ร้อยละ 70 ของผู้สูงวัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงวัยทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์
  1. ร้อยละ 70 ของผู้สูงวัยทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์
0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี
  1. ร้อยละ 80 ของผู้สูงวัยมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี
0.00
4 4. เพื่อให้ผู้สูงวัยมีการฝึกบริหารสมองเพื่อกระตุ้นกระบวนความคิดและการสั่งงานของสมอง
  1. ร้อยละ 100 ของผู้สูงวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มีฝึกทักษะด้านการกระตุ้นกระบวนความคิดและการสั่งงานของสมองเพื่อป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/11/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่อง   - โรคอัลไซเมอร์   - สาเหตุ และอาการของโรคอัลไซเมอร์   - สมองเสื่อม กับอัลไซเมอร์ต่างกันอย่างไร   - การเลือกทานอาหาร ออกกำลังกาย และการบริหารสมอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7350.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกบริหารสมอง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกบริหารสมอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมฝึกบริหารสมองเพื่อกระตุ้นกระบวนความคิดและการสั่งงานของสมอง   - เสียงเพลงเพื่อสุขภาพ      - เพลงประกอบท่าทาง      - ทายชื่อเพลง นักร้อง   - เกมส์ฝึกความจำ     - เกมส์จับผิดภาพ     - เกมส์ลูกเต๋าบวกเลข     - เกมส์บิงโก
  - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 สิงหาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงวัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์
2. ผู้สูงวัยทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์
3. ผู้สูงวัยมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี
4. ผู้สูงวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มีฝึกทักษะด้านการกระตุ้นกระบวนความคิดและการสั่งงานของสมองเพื่อป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์


>