กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงเชิงรุก หมู่ 8 บ้านซองใต้ ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ 8 บ้านซองใต้

1. นางขอฝีน๊ะโสะหน่าย 0883894017
2. นางวนาพรเดชแก้ว 0625058347
3. นางหนิสะลีฮะฝาหมาน0898787608
4. นางสะหะน๊ะหลำขุน0862916726
5. นายไพฑูรย์หมัดเด็น0872855804

หมู่ 8 บ้านซองใต้ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวีจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เร่งด่วนของประชาชนที่ต้องได้รับการแก้ไข นอกจากโรคติดต่อแล้ว กลุ่มโรคไม่ติดต่อก็เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลงอีกทั้งยังก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปีได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต โรคเบาหวานและโรคมะเร็ง เป็นต้น การค้นหาและการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจในการดำเนินงานสร้างหลักสุขภาพถ้วนหน้าที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดีสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมากขึ้นโดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ และถือว่าสุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน สำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุต่าง ๆ ได้แก่ วัยทำงาน วัยทอง และวัยสูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ทั้งจาก พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด จากการสำรวจและคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และรักษาโรค จึงเกิดนโยบายระดับชาติเพื่อควบคุมโรคเหล่านี้ คือ การมุ่งเน้นการตรวจค้นหา คัดกรองสุขภาพของประชาชนและการควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงการดูแลและตรวจสุขภาพเพราะคิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีอาการของโรค
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซองใต้ ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตเชิงรุก หมู่ 8 บ้านซองใต้ ปีงบประมาณ 2566 เพื่อคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง ติดตามผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตลอดจนส่งต่อผู้ป่วยเข้าสู่ระบบเพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงทุกคนได้รับการคัดกรอง

ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองตามป้าหมาย

0.00
2 เพื่อส่งเสริมบทบาทของ อสม.ให้ปฏิบัติงานเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง และติดตามผู้ป่วยในพื้นที่รับผิดชอบ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และมีการติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตามอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 76
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 53
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในหมู่บ้านเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
การเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในหมู่บ้านเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดแบบพกพา จำนวน 4 เครื่อง ๆ ละ 2,500 บาท  เป็นเงิน 10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2023 ถึง 31 ธันวาคม 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองเฝ้าระวังและป้องกันกลุ่มประชาชนทั่วไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง กลุ่มเสี่ยงอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองเฝ้าระวังและป้องกันกลุ่มประชาชนทั่วไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง กลุ่มเสี่ยงอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แบบบันทึกติดตามกลุ่มเสี่ยงพร้อมเอกสารให้ความรู้ จำนวน 53 เล่ม ๆ ละ 20 บาท  เป็นเงิน 1,060 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2023 ถึง 31 ธันวาคม 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1060.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2023 ถึง 31 ธันวาคม 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ให้สุขศึกษาและคำแนะนำด้านสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนกลุ่มปกติ/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มผู้ป่วยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
ให้สุขศึกษาและคำแนะนำด้านสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนกลุ่มปกติ/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มผู้ป่วยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สื่อไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 2 แผ่น ๆ ละ 430 บาท เป็นเงิน 860 บาท
  2. สื่อสติกเกอร์ ขนาดครึ่ง A4 ครัวเรือนละ 2 แผ่น ๆ ละ 5 บาท จำนวน 220 ครัวเรือน เป็นเงิน 2,200 บาท     รวมเป็นเงิน 3,060 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2023 ถึง 31 ธันวาคม 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3060.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,120.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถปฏิบัติงานเชิงรุกในพื้นที่ได้อย่างประสิทธิภาพ
2.ประชาชนกลุ่มปกติได้รับความรู้ด้านสุขภาพ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านได้รับการคัดกรองสุขภาพ/ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในหมู่บ้านได้รับการติดตามความดันโลหิต


>