กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางเป้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้และป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนูในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางเป้า

เทศบาลตำบลบางเป้า

เทศบาลตำบลบางเป้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์โรคเลปโตสไปโรสิส (leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู ในจังหวัดตรัง นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 - 11 ตุลาคม 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 97 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 15.19 ต่อประชากรแสนคน เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยพบเพศชาย 87 ราย เพศหญิง 10 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 8.70 : 1 โดยพบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนสิงหาคม มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.16 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 1.03 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ 35 - 44 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 209.84 ต่อประชากรแสนคน อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ รับจ้างทั่วไป อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ อำเภอนาโยง อัตราป่วยเท่ากับ 58.67 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอกันตัง อำเภอวังวิเศษ อำเภอปะเหลียน อำเภอย่านตาขาว อำเภอเมืองตรัง อำเภอสิเกา อำเภอรัษฎา อำเภอหาดสำราญ และอำเภอห้วยยอด อัตราป่วยเท่ากับ 20.79 ,18.47 ,17.83 ,14.03 ,9.01 ,7.97 ,6.91 ,6.01 และ 3.18 ราย ตามลำดับ ซึ่งโรคฉี่หนูเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือโดยการไชเข้าทางผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน ซึ่งมักจะระบาดช่วงหน้าฝนและโดยเฉพาะหลังน้ำลด พบผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในเกษตรกร ที่ต้องเดินลุยน้ำ มีน้ำขัง หรือพื้นดินชื้นแฉะที่มีโอกาสปนเปื้อนปัสสาวะสัตว์ ได้แก่ วัว ควาย หมู แพะ หนู รวมทั้งผู้ที่ทำงาน ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละสัตว์ที่มีเชื้อโรคฉี่หนู ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคนี้ โดยอาการของโรคคือ มีไข้สูงทันที ทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลือง ตาเหลืองเนื่องตากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้
ด้วยเหตุดังกล่าวกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบางเป้าจึงมีความห่วยใยสุขภาพประชาชนและได้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้และป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนูในชุมชนขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมและประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฉี่หนูและการป้องกันตนเองจากโรค
  1. ร้อยละ 80 ของประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฉี่หนูและการป้องกันตนเองจากโรค
0.00
2 2. เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคฉี่หนูของประชาชนในพื้นที่
  1. อัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคฉี่หนูของประชาชนในพื้นที่ลดลง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคฉี่หนูและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 สิงหาคม 2566 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14150.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมรณรงค์

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมรณรงค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ให้ความรู้การป้องกันโรคฉี่หนูในพื้นที่ตำบลบางเป้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18024.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,174.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าอบรมและประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฉี่หนูและการป้องกันตนเองจากโรค
2.อัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคฉี่หนูลดลง


>