กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม ตามหลักปลอดเชื้อ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือที่เรียกว่าการเข้าสุนัต เป็นหลักปฏิบัติที่สืบเนื่องมาจากท่านศาสดามุฮัมมัด เป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาทางวัฒนธรรมและศาสนาเป็นเวลานานมาแล้ว การขลิบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมชาย เนื่องจากการศึกษาวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายนั้นมีผลดีทางการแพทย์บางอย่าง เช่น โอกาสที่จะติดโรคทางเดินปัสสาวะน้อยมาก เด็กที่ไม่ได้ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จะมีโอกาสไตอักเสบเป็น 10 เท่าของเด็กที่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย การทำงานของไตและการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติสามารถเกิดขึ้นกับการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้แล้วการติดเชื้อแบคทีเรียจากสิ่งสกปรกที่หมักหมมอยู่ภายใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อของไตได้เช่นกันการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าคนที่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายมีอัตราเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศน้อยมาก ส่วนผู้ชายที่ไม่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายนั้นจะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าเพราะในระหว่างการมีความสัมพันธ์ทางเพศนั้น หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถถลอกหรือเป็นแผลเล็กๆที่ทำให้เชื้อไวรัสเข้าไปในบาดแผลนั้น
การขลิบหนังหุ้มปลาย (อังกฤษ: Circumcision) หรือเรียกกันว่า สุนัต คือ การผ่าตัดเพื่อเอาหนังหุ้มปลายของอวัยวะสืบพันธุ์ชายออกไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อการรักษาความสะอาดที่ง่ายขึ้น หรือ การผ่าตัดเพื่อผู้ที่มีหนังหุ้มหนาเกินไปจนไม่สามารถเปิดออกเองได้ และเกิดความเจ็บปวดเวลาอวัยวะเพศแข็งตัว
ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคตามสิทธิประโยชน์ของแต่ละกลุ่มวัยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นต่อการจัดการแก้ไขปัญหาสภาวะสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชนชายจึงได้จัดทำโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม ตามหลักปลอดเชื้อ ประจำปี 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือด (Bleeding)

ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชน ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือด (Bleeding)

60.00 48.00
2 เพื่อสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

ร้อยละ 80 ของผู้รับการอบรมมีความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

120.00 96.00
3 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรค และลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักการแพทย์ปัจจุบันให้กับเด็ก และเยาวชน

ร้อยละ 80 สามารถเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรค และลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักการแพทย์ปัจจุบันให้กับเด็ก และเยาวชนได้

60.00 48.00
4 เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

60.00 48.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/09/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพให้กับผู้ปกครองและเด็กที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพให้กับผู้ปกครองและเด็กที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท x 120 คน เป็นเงิน 8,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 75 บาท x120 คน เป็นเงิน 9,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 เมตร x 3.5 เมตร x ตร.ม.ละ 300 บาทจำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1,575 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 500 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กันยายน 2566 ถึง 11 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21475.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ขลิปหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ขลิปหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างเหมาบริการทางการแพทย์ คนละ 1,200 บาท x 60 คน เป็นเงิน 72,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์
    • ค่าจัดซื้อผ้าขาวม้า 60 ผืน X 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 75 บาท จำนวน 35 คน เป็นเงิน 2,625 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 35 คน เป็นเงิน 2,450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กันยายน 2566 ถึง 12 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค และลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักการแพทย์ปัจจุบันให้กับเด็ก และเยาวชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
83075.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 104,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กและเยาวชนได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชนในการป้องกันโรคติดเชื้อ


>