2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นโรคติดต่อปีะจำถิ่นที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค และพบมีการระยาดตลอดปีและพบมากในฤดูฝน สถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกของประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2566 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งสิ้นจำนวน 46855 ราย มีผู้เสียชีวิต 41 ราย ส่วนจังหวัดสงขลามีผู้ป่วยจำนวน 2684 ราย อัตราป่วย 187.49 ต่อแสนประชากร มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (ที่อำเภอนาหม่อมและอำเภอหาดใหญ่) โดยอำเภอที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ อำเภอสะเดา อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอเมืองสงขลา ส่วนอำเภอจะนะอยู่ในลำดับที่ 7 คือมีผู้ป่วยจำนวน 411 รายโดยตำบลบ้านนามีผู้ป่วยจำนวน 80 ราย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา จำนวน 42 ราย และอยู่ในเขตเทศบาลตำบลจะนะ 38 ราย ส่วนสถิติผู้ป่วยไข้เลือดออก ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา ข้อมูลตั้งแต่ปี 2564,2565,2566 มีรายงานผู้ป่วยจำนวน 6 ราย , 12 ราย , 42 ราย จาดสถิติจะพบว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งนี้จะพบการระบาดทั้งในส่วนของชุมชนและสถานศึกษา โดยเฉพาะชุมชนบ้านลางา ที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น 13 ราย แยกเป็นผู้ป่วยในชุมชนบ้านลางาจำนวน 4 ราย และพบผู้ป่วยที่เป็นเด็กนักเรียนในโรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยาอีก 8 ราย และยังมีสถานศึกษาอีกแห่งที่อยู่ใกล้กับโรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยาคือโรงเรียนบ้านลางา ซึ่งมีรายงานพบเด็กป่วยจำนวน 1 ราย การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพคือต้องกำจัดต้นเหตุของการเกิดยุง คือต้องไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายรอบๆ บริเวณบ้านตามมาตรการ 3 เก็บ คือ 1.เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่มีบริเวณอับทึบที่ให้ยุงเกาะ 2.เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บเศษภาชนะที่ไม่ต้องการทิ้งไว้ในถุงดำมัดปากถง 3.เก็บน้ำ คือเก็บภาชนะใส่น้ำต้องมีฝาปิดมิดชิด คว่ำภาชนะขังน้ำและเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกัน เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่ และเมื่อมีเหตุระบาดของโรคไข้เลือดออกจะต้องเร่งดำเนินการควบคุมโดยการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอยกำจัดยุงรอบบ้านผู้ป่วยและบ้านเรือนในรัศมี 100 บาท จากบ้านผู้ป่วย เพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้ยุงลายไปแพร่เชื้อแก่บุคคลอื่นหรือชุมชนรอบข้าง ทั้งนี้สถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกเป็นประจำพบว่าบริเวณสถานที่ดังกล่าวมี
ลักษณะเป็นแหล่งน้ำท่วมขังโดยเฉพาะในโรงเรียนรุ่งโรจนืวิทยาและโรงเรียนบ้านลางาที่มีสภาพพื้นที่เป็นแหล่งน้ำท่วมตลอดเวลาเกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย นอกจากนี้บริเวณชุมชนก็พบมีขยะมูลฝอยที่เป็นภาชนะขังน้ำทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลุกน้ำยุงลาย ดังนั้นถ้าหากมีการแก้ไขปัญหาในเรื่องของน้ำท่วมขังในพื้นที่กับการแก้ปัญหาในเรื่องขยะมูลฝอยก็จะสามารถแก้ปัญหาในเรื่องของแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้
ในการนี้ เทศบาลตำบลบ้านนา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการขยะและบริหารจัดการน้ำท่วมขังเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนและสถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นทีทั้งในส่วนของสถานศึกษาและขยายผลไปสู่ชุมชน โดยการจัดทำธนาคารนำ้ใต้ดิน และการลดปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่ โดยการนำขยะมูลฝอยเหล่านี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่ เป็นการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 31/08/2023
กำหนดเสร็จ 30/09/2023
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.สามารถลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา
2.สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ้านนา
3.สามารถแก้ไขปัยาหน้ำท่วมขังหรือปัญหาภัยแล้งได้ในอนาคต
4.ประชาชนในหมู่บ้านชุมชนมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น