กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออกบ้านเกาะนางทอง ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

ภาคีเครือข่าย อสม.บ้านเกาะนางทอง

1. นายใบอดุลย์ สวยงาม
2. นางขอลิฝ๊ะแหละกุบ
3. นายสอแหล๊ะฝาหล๊ะ
4. นายวิชาญ แซ่ฮ่อ
5. นางมาริย๊ะ เรืองทอง

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีการระบาดต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์
โรคไข้เลือดออก ปี 2566 ได้ทวีความรุนแรงและมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ทำให้มีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออก ทุกกลุ่มอายุและทุกวัย โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดปี หากไม่มีการเร่งรัดป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเป้าหมายหลัก คือ ต้องร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดพัทลุงตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566พบผู้ป่วยสะสม
387 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 79.80 ต่อแสนประชากร ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง จากระบบรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาอำเภอปากพะยูน พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน 43 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 84 ต่อแสนประชากร และตำบลเกาะนางคำ มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน 4 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยในพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลเกาะนางคำ จำนวน 2 ราย และตั้งแต่เดือนมกราคม 2566มีแนวโน้มการระบาดของ
โรคกระจายไปทุกพื้นที่ในเขตอำเภอปากพะยูน
จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มภาคีเครือข่าย อสม.หมู่ที่ 8 บ้านเกาะนางทอง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงได้ทำโครงการเฝ้าระวังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออกบ้านเกาะนางทอง ปี 2566 ขึ้นเพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก และกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพจากเทศบาลตำบลเกาะนางคำ เป็นเงิน 19,310 บาท (หนึ่งหมื่นเก้าพันสามร้อยสิบบาทถ้วน)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน

ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI น้อยกว่า 10% ค่า CI น้อยกว่า 5%)

0.00
2 เพื่อส่งเสริมประชาชนให้เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI น้อยกว่า 10% ค่า CI น้อยกว่า 5%)

0.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโครงการและชี้แจงโครงการแก่ อสม. ทั้ง 20 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการและชี้แจงโครงการแก่ อสม. ทั้ง 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับใช้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับใช้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าทรายกำจัดลูกน้ำยุง (แบบซองชา) จำนวน 2 ถัง ๆละ 5,500 บาท เป็นเงิน 11,000 บาท
  • ค่าสเปรย์พ่นฆ่ายุงลาย จำนวน 50 กระป๋องๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 100 ซอง ๆ ละ 6 บาท เป็นเงิน 600 บาท รวมเป็นเงิน 15,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15100.00

กิจกรรมที่ 3 เดินรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 1 ครั้ง ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ตำบลเกาะนางคำ

ชื่อกิจกรรม
เดินรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 1 ครั้ง ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ตำบลเกาะนางคำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.เดินรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 1 ครั้ง ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ตำบลเกาะนางคำ เช่น เทศบาลตำบลเกาะนางคำ โรงเรียน ฝ่ายปกครอง(ผู้นำชุมชน) เป็นต้น 3.1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 3.2 เก็บขยะ 2 ข้างทาง - ค่าป้ายไวนิลเฝ้าระวังพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน  5 ป.1 ข  ขนาด 1x2 ม จำนวน 3 แผ่นๆ ละ 300 บาท  เป็นเงิน 900 บาท - ถุงดำ ขนาด 36 x 45 นิ้ว จำนวน 3 ก.ก.ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 210 บาท - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 130 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 30 บาท  จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน  3,900 บาท เป็นเงิน 5,010 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5010.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,110.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.การสำรวจลูกน้ำยุงลายค่า HI น้อยกว่า 10% ค่า CI น้อยกว่า 5%
2.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด


>