กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

ศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแส โรงพยาบาลกระแสสินธุ์

1.นางสาวพีระดี ดำสีใหม่
2.นางวรรณะ รัตนพันธ์
3.นางนราวรรณ ช่วยชีพ
4.นางสาวธิตติยา เพชรรัตน์
5.นายพิสิษฐ์ ละมิด

ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้นตำบลเชิงแสเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำสวน ปลูกพืชผัก ซึ่งมีผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง

จากการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของปี 2566 มีผลการตรวจดังนี้ มีผลเลือดในระดับปลอดภัยร้อยละ 35.96 ผลเลือดในระดับมีความเสี่ยงร้อยละ 59.55 และผลเลือดในระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 4.49 จะเห็นได้ว่าเกษตรกรในตำบลเชิงแส ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีคุณภาพ สามารถการป้องกันและลดอันตรายจากสารพิษตกค้างในร่างกาย

จากข้อมูลดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแส โรงพยาบาลกระแสสินธุ์ ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพขึ้น เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรในตำบลเชิงแส ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูสารเคมีตกค้างในเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้การป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ

80.00
2 เพื่อตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเบื้องต้นแก่เกษตรกร

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้ตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเบื้องต้น

80.00
3 เพื่อติดตามกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมีระดับลดลง

ร้อยละ 30 ของกลุ่มเกษตรกรมีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมีระดับลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด
1.จัดทำโครงการและเสนอโครงการ
2.ประสานงานติดต่อหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการ
3.ประชาสัมพันธ์โครงการในกลุ่มเป้าหมาย
4.ดำเนินการจัดโครงการดังนี้
4.1.อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน
4.2.ทดสอบความรู้ก่อน-หลังเข้าร่วมโครงการ
5.รายงานผลการดำเนินการ

กลุ่มเป้าหมาย
-กลุ่มเกษตรกรในเขตตำบลเชิงแส จำนวน 100 คน

งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด
1.ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดโดยใช้กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส
กลุ่มเป้าหมาย
-กลุ่มเกษตรกรในเขตตำบลเชิงแส จำนวน 100 คน
งบประมาณ
1.ชุดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด (กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส และ ชุดอุปกรณ์) จำนวน 1 ชุด ชุดละ 1,800 บาท
1.1 กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส
1.2 ลำลีและแอลกอฮอลล์
1.3 เข็มเจาะเลือด
1.4 Slide
1.5 Micro Haematocrit tube
1.6 ปากคีบ (Forceps)
1.7 Pipette Tiip with Dropper Bulb
1.8 ถาดดินน้ำมัน
1.9 Rack พลาสติก
1.10 กล่องพลาสติก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเกษตกรได้รับการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเบื้องต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยซ้ำ 3 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยซ้ำ 3 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด
1. ติดตามกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยซ้ำ 3 เดือน กลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย
งบประมาณ
- กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส 1 ชุด เป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 30 ของกลุ่มเกษตรกรมีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมีระดับลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ
2.กลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเบื้องต้น
3.กลุ่มเกษตรกรมีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมีระดับลดลง


>