แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นางสำลี ลัคนาวงศ์
2. ว่าที่ ร.ต.สุกล พรหมรักษ์
3. นายลิขิต อังศุภานิช
4. นางสาวอารีนา หิมมา
5. นางสาวคารีน่า โสยดี
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (The Community Health Security Fund) "กองทุนสุขภาพตำบล" นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วน ในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2561 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังนี้ (1) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขโดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (2) เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นได้ดำเนินงานตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่และกรณีมีความจำเป็นต้องจัดซื้อวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาทต่อโครงการ วัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่น ที่ได้รับการสนับสนุนนั้นๆ (3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นหรือหน่วยงานที่ดูแล ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นหรือหน่วยงานที่ดูแลดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ ละปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน 20,000 บาทต่อหน่วย โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ (5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ (6) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริหารสาธารณสุขตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์ มีความเหมาะสมส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จึงต้องมีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม การติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานของกองทุน การประเมินความพึงพอใจและการรับรู้ของประชาชนต่อการดำเนินงานของกองทุนเพื่อใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน
-
1. เพื่อให้การบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพตัวชี้วัด : 1. การบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลการประเมินการบริหารจัดการอยู่ในระดับ A หรือ A+ 2. คณะกรรมการกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีความรู้ในการบริหารจัดการกองทุนฯ 3. กองทุนฯ มีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างน้อย ร้อยละ 80 ของเงินในบัญชีทั้งหมดในปีงบประมาณนั้นๆขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
-
2. เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ในการจัดบริการสาธารณสุข ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10ตัวชี้วัด : - กองทุนฯ มีการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในพื้นที่มีความครอบคลุมทุกประเภท ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
-
3. เพื่อสร้างนวัตกรรมสุขภาพชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมตัวชี้วัด : - มีนวัตกรรมสุขภาพชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน อย่างน้อย 1 นวัตกรรมขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
-
4. เพื่อพัฒนากองทุนฯให้เป็นแหล่งเรียนรู้/ศึกษาดูงานแก่หน่วยงานภายนอกตัวชี้วัด : - มีกลุ่ม/องค์กร/หน่วยงานภายนอก มาเรียนรู้/ศึกษาดูงานกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยงาน/ปีขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
-
5. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและกิจกรรมธรรมนูญสุขภาพในระดับหมู่บ้านหรือตำบลตัวชี้วัด : - เกิดธรรมนูญสุขภาพระดับหมู่บ้านหรือตำบลในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25 และเพิ่มขึ้นทุกปี จนครบร้อยละ 100 ในปี 2567ขนาดปัญหา เป้าหมาย 25.00
-
6. เพื่อสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงตัวชี้วัด : - กองทุนฯ มีการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง ร้อยละ 100ขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
- 1. พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการทุกคณะรายละเอียด
- คณะกรรมการกองทุนฯ เข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพ โดยการประชุมหรือฝึกอบรม
จัดอบรมเสริมความรู้และสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการกองทุนฯ และเสริมสร้างประสบการณ์ด้วยการศึกษาดูงาน จำนวน 1 ครั้ง
ส่งเข้าร่วมประชุมหรืออบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
เป้าหมาย
คณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 17 คน
ที่ปรึกษากองทุน จำนวน 3 คน
คณะอนุกรรมการพิจารณาฯ จำนวน 12 คน
คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล จำนวน 7 คน
คณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 10 คน
คณะทำงาน จำนวน 5 คน
รวม จำนวน 54 คน
งบประมาณ
ค่าลงทะเบียนที่ใช้ในการประชุมหรือฝึกอบรม
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ค่าใช้จ่ายในการอบรมหรือศึกษาดูงานหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน
กรณีที่กองทุนจัดประชุมหรืออบรม
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม
ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิดและปิดการฝึกอบรม
ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประชุมหรือฝึกอบรม
ค่าประกาศนียบัตร
ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสาร และสิ่งพิมพ์
ค่าหนังสือสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆในการฝึกอบรม
ค่ากระเป๋าหรือสิ่งที่ใช้บรรจุเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ค่าสมนาคุณในการศึกษาดูงาน
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ค่าสมนาคุณวิทยากร
ค่าอาหาร
ค่ายานพาหนะ
ค่าคู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (พ.ศ. 2561) สำหรับคณะกรรมการกองทุนฯ
ค่าตอบแทนคณะทำงานสำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ
รวมเป็นเงิน 33,583 บาท
งบประมาณ 33,583.00 บาท - 2. อบรม/พัฒนาทักษะการเขียนโครงการรายละเอียด
1.จัดอบรม/พัฒนาเพิ่มทักษะการเขียนโครงการ แก่ผู้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เกี่ยวกับ
หลักการเขียนโครงการทั่วไป
แนวคิดในการเขียนโครงการ
การเขียนโครงการ
การใช้งานโปรแกรมกองทุนสุขภาพตำบล เป็นต้น
เป้าหมาย
ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 30 คน
ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 2 คน จำนวน 24 คน
ตัวแทนจากกลุ่มหรืองค์กรต่างๆ จำนวน 5 คน
คณะทำงาน จำนวน 3 คน
รวม 62 คน
งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 62 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 3,100 บาท
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 62 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 4,030 บาท
ค่าวัสดุ/เอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท
ค่าตอบแทนคณะทำงานสำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ จำนวน 3 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ค่ายานพาหนะสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 59 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 5,900 บาท
รวมเป็นเงิน 15,630 บาท
งบประมาณ 15,630.00 บาท - 3. ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯและที่ปรึกษา จำนวน 4 ครั้งรายละเอียด
1.ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และที่ปรึกษา อนุมัติแผนงาน โครงการ กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม พ.ศ. 2566
ครั้งที่ 2 เดือนมกราคม - มีนาคม พ.ศ 2567
ครั้งที่ 3 เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ.2567-
ครั้งที่ 4 เดือนสิงหาคม - กันยายน พ.ศ.2567
เป้าหมาย
คณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 17 คน
ที่ปรึกษา จำนวน 3 คน
คณะทำงาน จำนวน 2 คน
ตัวแทนผู้เสนอโครงการๆละ 2 คน(โดยประมาณ) จำนวน 30 คน
รวม 52 คน
งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 52 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 5,200 บาท
ค่าตอบแทนในการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และที่ปรึกษาจำนวน 20 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 400 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 32,000 บาท
ค่าตอบแทนคณะทำงานสำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ จำนวน 2 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 200 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 1,600 บาท
ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท
รวมเป็นเงิน 41,800 บาท
งบประมาณ 41,800.00 บาท - 4. ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 2 ครั้งรายละเอียด
1.พิจารณาแผนการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงรายบุคคลที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
ครั้งที่ 2 เดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ 2567
เป้าหมาย
คณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 10 คน
คณะทำงาน จำนวน 2 คน
ตัวแทนศูนย์ฯ จำนวน 2 คน รวม 14 คน
งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 14 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 700 บาท
ค่าตอบแทนในการประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 10 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท
ค่าตอบแทนคณะทำงานสำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ จำนวน 2 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 200 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 800 บาท
ค่าตอบแทนในการประชุมบุคคลภายนอก จำนวน 2 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท
ค่าเอกสารประกอบการประชุมเป็นเงิน 1,500 บาท
รวมเป็นเงิน 10,200 บาท
งบประมาณ 10,200.00 บาท - 5. ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณา กลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม จำนวน 3 ครั้งรายละเอียด
พิจารณา กลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรมที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม พ.ศ. 2566
ครั้งที่ 2 เดือนมกราคม - เมษายน พ.ศ 2567
ครั้งที่ 3 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ.2567
เป้าหมาย
คณะอนุกรรมการฯ จำนวน 12 คน
คณะทำงาน จำนวน 1 คน
ตัวแทนผู้เสนอโครงการๆละ 2 คน(โดยประมาณ) จำนวน 30 คน
รวม 43 คน
งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 43 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 3,225 บาท
ค่าตอบแทนในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการกิจกรรมจำนวน 12 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 300 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 10,800 บาท
ค่าตอบแทนคณะทำงานสำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ จำนวน 1 คนๆละ 1 ครั้งๆ ละ 200 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 600 บาท
ค่าเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 2,500 บาท
รวมเป็นเงิน 17,125 บาท
งบประมาณ 17,125.00 บาท - 6. ประชุมชี้แจงผู้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ และจัดทำบันทึกข้อตกลง จำนวน 3 ครั้งรายละเอียด
1.ประชุมชี้แจงผู้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ และจัดทำบันทึกข้อตกลง จำนวน 3 ครั้ง
เป้าหมาย
ตัวแทนผู้เสนอโครงการๆที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯโครงการละ 2 คน(โดยประมาณ) จำนวน 30 คน
คณะทำงาน จำนวน 3 คน
รวม 33 คน
งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 33 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 2,475 บาท
ค่าตอบแทนคณะทำงานสำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ จำนวน 2 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 200 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท
ค่าเอกสารประกอบการประชุมเป็นเงิน 500 บาท
รวมเป็นเงิน 4,175 บาท
งบประมาณ 4,175.00 บาท - 7. ประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม/ประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้งรายละเอียด
.ติดตามและประเมินผลแผนงาน โครงการ กิจกรรมที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
ครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567
เป้าหมาย
คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล จำนวน 7 คน
คณะทำงาน จำนวน 1 คน
ผู้เสนอโครงการ (โดยประมาณ) จำนวน 50 คน
รวม 58 คน
งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 58 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,800 บาท
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 58 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,540 บาท
ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล จำนวน 7 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 4,200 บาท
ค่าตอบแทนคณะทำงานสำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ จำนวน 1 คนๆละ 1 ครั้งๆ ละ 200 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 400 บาท
ค่าเอกสารประกอบการประชุมเป็นเงิน 1,000 บาท
ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 432 บาท
รวมเป็นเงิน 19,372 บาท
งบประมาณ 19,372.00 บาท - 8. ประชุมการจัดทำแผนสุขภาพตำบลกำแพง จำนวน 1 ครั้งรายละเอียด
จัดทำแผนสุขภาพตำบลกำแพง จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 8 คน รวม 96 คน
จัดกิจกรรมจำนวน 2 วันๆละ 6 หมู่บ้านๆละ 8 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, สมาชิก อบต., กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน, อาสาสมัครสาธารณสุข, ผู้นำศาสนา, แกนนำผู้สูงอายุ, เจ้าหน้าที่ประจำโรงเรียนในเขตอบต.กำแพง และเจ้าหน้าที่ อบต.กำแพง
เป้าหมาย
แกนนำหมู่บ้านละ 8 คน จำนวน 12 หมู่บ้าน จำนวน 96 คน
คณะทำงาน จำนวน 5 คน/ครั้ง รวมจำนวน 101 คน
งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับแกนนำหมู่บ้านจำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 8 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆละ 4 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ค่าอาหารกลางวัน สำหรับแกนนำหมู่บ้าน จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 8 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 6,240 บาท
ค่าอาหารกลางวันสำหรับคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆละ 2 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 650 บาท
ค่ายานพาหนะในการเดินทางสำหรับแกนนำหมู่บ้าน จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 8 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
ค่าตอบแทนคณะทำงาน สำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ จำนวน 5 คนๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 3.0 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 675 บาท
ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เป็นเงิน 500 บาท
ค่าเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 1,500 บาท
รวมเป็นเงิน 26,465 บาท
งบประมาณ 26,465.00 บาท - 9. ประชุมถอดบทเรียนและจัดทำธรรมนูญตำบลกำแพง จำนวน 1 ครั้งรายละเอียด
- ประชุมถอดบทเรียนและจัดทำธรรมนูญตำบลกำแพง
เป้าหมาย
คณะกรรมการกองทุนฯ, คณะอนุกรรมการพิจารณา กลั่นกรอง แผนงานฯ, คณะอนุกรรมการ LTC และคณะกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
เจ้าหน้าที่ อบต.
ผู้นำศาสนา
กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
ประชาชนทั่วไป
คณะทำงาน
รวม 70 คน
งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 3,500 บาท
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาทเป็นเงิน 4,550 บาท
ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เป็นเงิน 1,000 บาท
ค่าตอบแทนคณะทำงาน สำหรับ จนท./ลูกจ้าง อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ฯ จำนวน 3 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ค่าเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท
ค่ายานพาหนะในการเดินทางสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 70 คนๆละ 1 ครั้งๆละ 100 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
รวมเป็นเงิน 17,650 บาท
งบประมาณ 17,650.00 บาท - 10. ค่าใช้จ่ายอื่นๆรายละเอียด
งบประมาณ
ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 10,000 บาท
ค่าจัดทำเอกสาร แผ่นพับ วัสดุ/อุปกรณ์ต่างๆ เป็นเงิน 2,000 บาท
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
รวมงบประมาณโครงการ 198,000.00 บาท
- กองทุนฯ มีการบริหารจัดการหรือพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และมีผลการประเมินการบริหารจัดการอยู่ในระดับ A หรือ A+
- ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงกองทุนฯ ทุกกลุ่มวัย และกองทุนฯให้การสนับสนุน และส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ในการจัดบริการ สาธารณสุข ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 ครอบคลุมทุกภาคส่วน
- เกิดนวัตกรรมสุขภาพชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน และยั่งยืน
- กองทุนฯ มีการพัฒนากองทุนฯ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้/ศึกษาดูงานแก่หน่วยงานภายนอก ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
- กองทุนฯ ได้สนับสนุนให้เกิดธรรมนูญสุขภาพสุขภาพตำบลในพื้นที่
- กองทุนฯ ได้สนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................