กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงวัย กายใจดี มีความสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

ศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแส โรงพยาบาลกระแสสินธุ์

1.นางนราวรรณ ช่วยชีพ
2.นางวรรณะ รัตนพันธ์
3.นางสาวธิตติยา เพชรรัตน์
4.นางสาวพีระดี ดำสีใหม่
5.นางทิพย์สุคนธ์ อินทร์ดำ

ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จาก สถานการณ์ปี 2562 -2566 ของอำเภอกระแสสินธุ์ มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็น "สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super aged society)" ในจำนวนผู้สูงอายุของตำบลเชิงแส ที่มีทั้งหมด 676 คน พบปัญหาด้านสุขภาพ ได้แก่ ปัญหาการเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และอีกหลายๆโรค อีกทั้งความสามารถทางด้านร่างกายลดลง เนื่องจากองค์ประกอบต่างๆ ของร่างกายเสื่อมสภาพลง เช่น สมอง อวัยวะต่างๆ เป็นต้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพมากกว่าวัยอื่นๆ
ทางศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแส โรงพยาบาลกระแสสินธุ์ จึงจัดโครงการ “ผู้สูงวัย กายใจดี มีความสุข”ในผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพด้านต่างๆของตนเอง รวมถึงการดูแลสุขภาพเมื่อเกิดอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรกและบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นเพื่อทราบภาวะสุขภาพของตนเองและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ หากมีภาวะผิดปกติมีการส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลต่อไป และผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้นานที่สุดอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งมีการส่งต่อข้อมูลเพื่อฟื้นฟูจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุในทุกหมู่บ้านเป็นลำดับต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจแก่ผู้สูงอายุนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน

ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับรู้การประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นของตัวเอง

ผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นของตัวเอง ร้อยละ 100

100.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ร่วมทำกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน สร้างความสามัคคีในชุมชน และพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมทำกิจกรรมโครงการ ร้อยละ 100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 150
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.ผู้สูงอายุลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
2.ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว
3.วัดความดันโลหิต
4.ลงผลการประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นของผู้สูงอายุในแบบบันทึก

เป้าหมาย ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลเชิงแส 4 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 150 คน ดังนี้
หมู่ที่ 1 จำนวน 30 คน
หมู่ที่ 2 จำนวน 40 คน
หมู่ที่ 3 จำนวน 40 คน
หมู่ที่ 4 จำนวน 40 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น
2.ผู้สูงอายุได้รับรู้ภาวะสุขภาพเบื้องต้นของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพกายสุขภาพใจโดยเน้น3อ.2ส.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพกายสุขภาพใจโดยเน้น3อ.2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.ทำแบบประเมินความรู้ก่อนการอบรมให้ความรู้
2.ให้ความรู้ด้านสุขภาพกายสุขภาพใจโดยเน้น3อ.2ส.(อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
3.ทำแบบประเมินความรู้หลังการอบรมให้ความรู้

กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลเชิงแส 4 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 150 คน ดังนี้
หมู่ที่ 1 จำนวน 30 คน
หมู่ที่ 2 จำนวน 40 คน
หมู่ที่ 3 จำนวน 40 คน
หมู่ที่ 4 จำนวน 40 คน

งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวันมื้อละ 50บาท/คน จำนวน 150คน เป็นเงิน7,500 บาท
2.ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่มมื้อๆละ 25 บาท/คน จำนวน 150 คน เป็นเงิน3,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11250.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจวัดสายตาและตรวจฟันในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจวัดสายตาและตรวจฟันในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.ตรวจวัดสายตาโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2.ตรวจฟันโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข
3.ส่งต่อการรักษาในรายที่มีความผิดปกติ

กลุ่มเป้าหมาย
ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลเชิงแส 4 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 150 คน ดังนี้
หมู่ที่ 1 จำนวน 30 คน
หมู่ที่ 2 จำนวน 40 คน
หมู่ที่ 3 จำนวน 40 คน
หมู่ที่ 4 จำนวน 40 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุทุกคนได้รับการตรวจวัดสายและตรวจฟันโดยเจ้าหน้าที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,250.00 บาท

หมายเหตุ :
*ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้น
2.ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
3.ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรมและพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
4.ชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้านสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสุขภาพได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน


>