กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านหนองบ่อ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านหนองบ่อ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านหนองบ่อ

1 นางอนงค์ แดงปรก
2 นางสาวอลิสายูสะ
3 นางสุวรรณา ถังเซ่ง
4 นางสาวมยุรี สายนุ้ย
5 นางฝะติหม๊ะ หวังอาลี

หมู่ที่ 1 บ้านหลังสถานี หมู่ที่ 5 บ้านห้วยเนียงหมู่ที่ 6 บ้านหนองบ่อและ หมู่ที่ 12 บ้านทวดทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่มักพบการระบาดในฤดูฝนผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยตลอดเวลาหน้าแดงปวดศีรษะเบื่ออาหารอาเจียนซึมถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จากข้อมูลจากระบบรายงานเฝ้าระวังโรคของจังหวัดพัทลุง เปรียบเทียบ 5 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2561-2565) มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 629, 1,645, 543, 58 และ 189 คนตามลำดับ แต่ในปี 2566 (ระหว่าง 1 มกราคม 2566 - 25 กรกฎาคม 2566)แค่ 7 เดือน มีจำนวนผู้ป่วยแล้วทั้งสิ้น 541 คน
จำแนกรายอำเภอของจังหวัดพัทลุง อำเภอที่มีผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ อำเภอตะโหมด ป่าบอน บางแก้ว ปากพะยูน และเขาชัยสน ตามลำดับ มีอัตราป่วย 217.3 , 181.7 , 146.9 , 132.8 และ 131.3 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ
จำแนกรายตำบลของจังหวัดพัทลุง ดังนี้
๑. ตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอน มีอัตราป่วย 338.3 ต่อแสนประชากร
๒. ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด มีอัตราป่วย 331.4 ต่อแสนประชากร
๓. ตำบลวังใหม่ อำเภอป่าบอน มีอัตราป่วย 321.8 ต่อแสนประชากร
๔. ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน มีอัตราป่วย 318.8 ต่อแสนประชากร
๕. ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน มีอัตราป่วย 231.1 ต่อแสนประชากร
อำเภอบางแก้ว ตำบลที่อัตราป่วยสูงสุด คือตำบลบ้านนาปะขอ อัตราป่วย 182.7 ต่อแสนประชากรส่วนตำบลโคกสัก มีจำนวนผู้ป่วย จำนวน 15 ราย นับจากต้นปีมา และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านหนองบ่อ
ในเขตให้บริการของ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านหนองบ่อ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง มีหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้าน (เฉพาะเขตพื้นที่ อบต.โคกสัก)จำนวน 831 หลังคาเรือนโรงเรียน 3 แห่ง วัด 1 แห่ง มัสยิด 2 แห่ง จากข้อมูลรายงาน 506 ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 กรกฎาคม2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว ตั้งต้นปีมาแล้ว 5 ราย (ม.1 จำนวน 2 ราย , ม.6 จำนวน 1 ราย และ ม.12 จำนวน 2 ราย) อัตราป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง ค่าดัชนี้ลูกน้ำยุงลาย ทั้ง HI และ CI เกินค่ามาตรฐานทุกปีชุมชนได้ดำเนินการกิจกรรม ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชน ร่วมดำเนินการในรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและควบคุมโรคกรณีมีผู้ป่วย จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนยังเกินค่ามาตรฐาน (HI ≤10) ภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายส่วนใหญ่ เป็นภาชนะเหลือใช้บริเวณรอบบ้าน เช่น ยางรถยนต์ แก้วน้ำพลาสติก ขวดน้ำ เป็นต้น และยังพบว่าประชาชนในบางครัวเรือนยังขาดความตระหนักการจัดสภาพแวดล้อมทั้งในบ้านและรอบบ้านให้เรียบร้อย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำที่บ้านของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ยังคงมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านหนองบ่อ ได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากโรคไข้เลือดออก จึงจัดโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2566 ขึ้น เพื่อดำเนินงานป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยเน้นให้ชุมชนประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ช่วยลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านส่งผลให้อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ข้อที่ 2 .เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย ข้อที่ 3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
  1. จำนวนและอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  2. ดัชนีลูกน้ำยุงลาย ( HICI ) ลดลง ข้อที่ 3เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/09/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่อสม.ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน กิจกรรมที่2 มอบทรายอะเบทให้กับตัวแทนหมู่บ้าน/อสม.เพื่อร่วมรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในภาชนะ ใส่น้ำในครัวเรือน กิจกรรมที่3 จัดกิจกรรมสุ่มตรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่อสม.ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน กิจกรรมที่2 มอบทรายอะเบทให้กับตัวแทนหมู่บ้าน/อสม.เพื่อร่วมรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในภาชนะ ใส่น้ำในครัวเรือน กิจกรรมที่3 จัดกิจกรรมสุ่มตรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1 ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่อสม.ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน หมู่ที่ 1 บ้านหลังสถานี หมู่ที่ 5 บ้านห้วยเนียง  หมู่ที่ 6 บ้านหนองบ่อ  และ หมู่ที่ 12 บ้านทวดทอง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้ จำนวน 200 คน โดยจัดเป็น รุ่น ๆละ 50 คน
  - ค่าป้ายไวนิลจัดการประชุม ขนาด 1.5 x 2.5 เมตร ตารางเมตรละ 200 บาท หมู่บ้านละ 1 ป้าย จำนวน 4 ป้าย เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย และผู้จัดการประชุม 25 บ.x 55 คน x 4 รุ่น ๆ ละ 1 มื้อ
                                                   = 5,500 บ. - ค่าวิทยากร 600 บ.x 3 ชม. X 4 วัน     = 7,200 บ.                               รวมเป็นเงิน = 15,700 บาท กิจกรรมที่2 มอบทรายอะเบทให้กับตัวแทนหมู่บ้าน/อสม.เพื่อร่วมรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในภาชนะ ใส่น้ำในครัวเรือน
ค่าวัสดุเคมีภัณฑ์ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก
- ทรายอะเบท แบบถุงชา 4 ถัง x 5,000 บ.
                                                 = 20,000 บ.                      รวมเป็นเงิน = 20,000 บาท กิจกรรมที่3  จัดกิจกรรมสุ่มตรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย อสม ผู้นำชุมชน และประชาชนตัวแทนหมู่บ้าน จำนวน 4 ชุด ๆ ละ 20 คน เพื่อสุ่มตรวจแบบไขว้กัน  จำนวน 80 คน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ.x 80 คน x 1 มื้อ
                                                = 2,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. จำนวนและอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  2. ดัชนีลูกน้ำยุงลาย ( HI  CI ) ลดลง ข้อที่ 3  เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. จำนวนและอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
2. ดัชนีลูกน้ำยุงลาย ( HICI ) ลดลง
ข้อที่ 3เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม


>