กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โพทะเล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยทำงานสดใสใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โพทะเล

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับตำบล

พื้นที่ความรับผิดชอบ อบต.โพทะเล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

24.36
2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

50.00

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆที่มีความทันสมัยสะดวกสบายมากขึ้นทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไปประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลงทำให้ร่างกายอ่อนแอ และปัจจุบันนี้ปัญหาโรคไม่ติดต่อได้เป็นปัญหาที่สำคัญ ประชาชนในอำเภอโพทะเลพบว่าโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน ๕ อันดับแรกในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคระบบกล้ามเนื้อและไขมันอุดตันในเส้นเลือด ในพื้นที่ตำบลโพทะเลพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 889คน โรคเบาหวาน จำนวน 364 คนโรคหัวใจจำนวน13คนโรคระบบกล้ามเนื้อจำนวน 50คน และโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด จำนวน 545 คน ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุจากการสอบถามพบว่าผู้ป่วยขาดการออกกำลังกายและบริโภคอาหารไม่ถูกต้องก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้ ประกอบกับตามนโยบายของผู้บริหารที่มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสนับสนุนและดำเนินการในด้านสุขภาพให้กับประชาชนให้มีความเป็นอยู่อย่างมีความสุขทั้งทางด้านร่างกายจิตใจสังคมอารมณ์และสติปัญญา โดยต้องการให้ประชาชนสามารถดูแลและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสุขภาพตนเองได้ด้วยการออกกำลังกายสร้างสุขภาพเพื่อให้มีสุขภาพพลานามัยดีซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดีอีกทั้งยังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ดังนั้นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับตำบลประเด็นออกกำลังกายจึงได้จัดทำโครงการวัยทำงานสดใสใส่ใจสุขภาพ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคดังกล่าวด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

24.36 30.00
2 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 95
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.รับสมัครสมาชิกเพื่อเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
1.รับสมัครสมาชิกเพื่อเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รับสมัครสมาชิกเพื่อเข้าร่วมโครงการ 2.ตรวจสุขภาพร่างกายให้กับสมาชิก (ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว เจาะเลือดวัดระดับน้ำตาล) และประเมินพฤติกรรมสุขภาพก่อนและหลังการออกกำลังกาย 3.อบรมเพิ่มทักษะการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมให้กับกลุ่มแกนนำออกกำลังกายแต่ละหมู่บ้านจำนวน ๑ ครั้งหมู่ละ5คนรวม 9 หมู่บ้าน เป็นจำนวนทั้งสิ้น45คน 4.อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 50 คน 5.จัดกิจกรรมออกกำลังกายในหมู่บ้าน ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ 6.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานในหมู่บ้าน สรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพแข็งแรงโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2.สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นร้อยละ 80


>