กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชุมชนหมู่ที่ 8 ตำบลอุใดเจริญ ปลอดไข้เลือดออก (ภายใต้โครงการป้องกันและควบคุมกรณีการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนหมู่ที่ 8 ตำบลอุใดเจริญ ปลอดไข้เลือดออก (ภายใต้โครงการป้องกันและควบคุมกรณีการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 ตำบลอุใดเจริญ

. นางผกากรองคมขำ ประธานเบอร์โทร.
2. นางสาวหทัยรัตน์ณ พิจิตร
3. นางราตรีเล็กบางพงค์
4. นางจันทนาเล็กบางพงค์
5. นางวิไลรัตน์ดาวมณี

หมู่ที่ 8 ตำบลอุใดเจริญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้มีการระบาดของโรคไข้เลือด โดยจังหวัดสตูลมีอัตราผู้ป่วยสูงติด 1 ใน 5 จังหวัด เมื่อเทียบอัตราส่วนต่อแสนประชากร ได้แก่ จังหวัดตราด , น่าน , แม่ฮ่องสอน , จันทบุรี และสตูล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 มิถุนายน 2566 ทั้งประเทศ มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 21, 457 ราย เสียชีวิตแล้ว 19 ราย ซึ่งจังหวัดสตูล มีผู้ป่วย 274 ราย เสียชีวิตแล้ว 2 ราย สำหรับพื้นที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงสุดที่อำเภอละงู พบมากที่ตำบลกำแพง , ละงู , เขาขาว , ปากน้ำ และน้ำผุด โดยกลุ่มเด็กนักเรียนอายุระหว่าง 15-24 ปี จำนวน 71 ราย รองลงมาเป็นกลุ่มอายุระหว่าง 10-14 ปี จำนวน 60 ราย และอายุระหว่าง 5-9 ปี จำนวน 42 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.94 (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2566) สำหรับพื้นที่ตำบล อุใดเจริญจากรายงานการระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลควนกาหลง (ข้อมูลจาก โรงพยาบาลควนกาหลง)ในช่วงตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2566 เป็นต้นมาสถานการณ์การเกิดโรคระบาดที่เกิดจากยุง เช่น โรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 มิถุนายน 2566มีอัตราการป่วยเท่ากับ 22.79 รองลงมาจากตำบลทุ่งนุ้ย อัตราการป่วยเท่ากับ25.06 ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มกระจายไปทั่วทุกหมู่บ้าน ซึ่งโรคไข้เลือดออกถือเป็นปัญหาโรคติดต่อทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ที่ต้องดำเนินการป้องกันควบคุมและแก้ไขโดยเร่งด่วน จากสถานการณ์ระบาดโรคไข้เลือดออก หน่วยงานภาครัฐจึงได้ส่งเสริมให้มีการดำเนินการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกในทุกพื้นที่ของประเทศ และพบว่าอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกยังมีอัตราที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงมีโอกาสพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ตลอดเวลา ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความตระหนักในป้องกันการเกิดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุง ด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบด้วยหลัก 5 ป บริเวณบ้านของตนเอง


ดังนั้นเพี่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโรคและอันตรายของโรค และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความพร้อมในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกข้างต้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 จึงขอเสนอโครงการชุมชนหมู่ที่ 8 ตำบล อุใดเจริญ ปลอดไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ เพื่อดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกด้วยตนเอง

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ลดลง

0.00
2 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความพร้อมในการควบคุม ป้องกันและลดปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ชุมชนได้

บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้รับการควบคุมโรคตามมาตรฐาน 3-3-1

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงแนวทางและวิธีดำเนินกิจกรรมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงแนวทางและวิธีดำเนินกิจกรรมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อชี้แจงแนวทางและวิธีดำเนินกิจกรรมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายและการจัดการขยะ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน ตามหลัก 3 เก็บ 5 ป 1 ข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายและการจัดการขยะ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน ตามหลัก 3 เก็บ 5 ป 1 ข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(1.) ลงสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต คว่ำภาชนะ หรือปล่อยปลาหางนกยูง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

(2.) รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน โดยป้ายประชาสัมพันธ์ ข้อมูลผ่านกลุมไลน์  เป็นต้น

  • ป้ายประชาสัมพันธ์ขนาด 1.5 * 2.4 เมตร

  • ป้ายรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ด้วยมาตรการ 3 เก็บ+5ป.+1ข.  จำนวน 3 ป้าย * 540 บาท                เป็นเงิน 1,620  บาท

  • ค่าทรายอะเบต (50 กรัม/ซอง*500ซอง/ถัง) จำนวน 1 ถัง * 4,500 บาท   เป็นเงิน  4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความเข้าใจและสามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ได้

  2. บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้รับการควบคุมโรคตามมาตรฐาน 3-3-1

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6120.00

กิจกรรมที่ 3 การลงพื้นที่ฉีดพ่นสารเคมีเผชิญเหตุเบื้องต้นให้กับบ้านผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
การลงพื้นที่ฉีดพ่นสารเคมีเผชิญเหตุเบื้องต้นให้กับบ้านผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การลงพื้นที่ฉีดพ่นสารเคมีเผชิญเหตุเบื้องต้นให้กับบ้านผู้ป่วย โดยการฉีดสเปรย์ป้องกันยุง การพ่นหมอกควัน และมอบยาทากันยุงสำหรับผู้ป่วย
- เครื่องพ่นหมอกควัน ขนาดเล็ก(แบบมือถือ จำนวน 1 เครื่อง* 8,500 บาท   เป็นเงิน 8,500 บาท

  • น้ำยาเคมีสำหรับพ่นหมอกควัน (ขนาด      1 ลิตร/ขวด ) จำนวน 3 ขวด * 1,800 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท

  • แก๊สกระป๋อง จำนวน 10 กระป๋อง*70 บาท           เป็นเงิน 700  บาท

  • สเปรย์ฉีดพ่นยุง จำนวน 24 กระป๋อง*      85 บาท            เป็นเงิน  2,040 บาท

  • ค่าวัสดุอื่นๆ เช่น โลชั่นทากันยุง ชนิดซอง ถุงมือยางทางการแพทย์ หน้ากากอนามัย    N-95 เป็นต้น เป็นเงิน 2,240 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความเข้าใจและสามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ได้

  2. บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้รับการควบคุมโรคตามมาตรฐาน 3-3-1

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18880.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความเข้าใจและสามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ได้

2. บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้รับการควบคุมโรคตามมาตรฐาน 3-3-1


>