กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขยะแลกไข่ อิ่มท้อง อิ่มใจ พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยชมรม อสม. รพ.สต.บ้านหนองบ่อ ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านหนองบ่อ

1 นางอนงค์ แดงปรก
2 นางสาวอลิสายูสะ
3 นางสุวรรณา ถังเซ่ง
4 นางสาวมยุรี สายนุ้ย
5 นางฝะติหม๊ะ หวังอาลี

ม.1 ม.5 ม.6 และ ม.12 ตำบลโคกสัก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการแก้ไขกันอย่างเต็มความสามารถเพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนทุกระดับและนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรตลอดจนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของคนเราได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยใช้ตะกร้าเวลาไปจ่ายตลาดใช้ปิ่นโตใส่อาหารใช้ใบบัวหรือใบตองห่ออาหารแต่ปัจจุบันมีการใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์จำพวกพลาสติก โฟมแก้ว กระดาษโลหะ อลูมิเนียมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆๆทำให้เกิดมูลฝอยสูงขึ้นตามไปด้วยผลกระทบที่ตามมามีทั้งความสูญเสียทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำดินเสื่อมสภาพความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวนรวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหนะนำโรคเสียหายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประชาชนยังให้ความสนใจในการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพอนามัยไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยมักจะอยู่ในกลุ่มที่มีสถานะทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีพอ จึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง บิด อาหารเป็นพิษ ไทฟอยด์ และโรคที่เกิดจากสัตว์นำโรค เช่น โรคไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซีส ปัญหาการเกิดโรคในชุมชนประกอบด้วยองค์ประกอบหลายด้าน เช่นสภาพแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคและที่อยู่อาศัยสัตว์นำโรคกระจายอยู่ทั่วไป ประกอบหน้าฝนถ้าชุมชนไม่มีความตระหนักและช่วยกันดูแลสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีจะทำให้ทั้งในบริเวณถนนภายในหมู่บ้าน ในบริเวณบ้านมีต้นหญ้าวัชพืชขึ้นรกมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดที่นำโดยแมลงตามมา เช่น โรคไข้เลือดออกโรคเลปโตสไปโรซีสซึ่งปี 2560ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ได้ดำเนินโครงการชุมชนร่วมใจ ใส่ใจ ดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหาขยะ และพัฒนาสิ่งแวดแล้ว โดยมีกิจกรรมนำขยะมาแลกไข่ไก่ ผลการดำเนินงานได้รับความสนใจชุมชน มีการจัดการขยะได้ดีขึ้น ปัญหาแมลงนำโรคลดลง แต่ยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังไม่ได้ร่วมดำเนินการ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะและประชาชนบางส่วนต้องการความต่อเนื่องของโครงการเพื่อพัฒนาชมชุนให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิดหาแนวทาง สร้างแบบแผนการปฏิบัติร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมป้องกันการเกิดโรคติดต่อในชุมชนและลดอัตราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารและโรคที่แมลงและสัตว์เป็นพาหะนำโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท
ข้อที่ 2 เพื่อรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ข้อที่ 3 เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยสัตว์และแมลงเป็นสื่อ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/09/2023

กำหนดเสร็จ 31/10/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดประชุมชี้แจงโครงการ ให้ผู้นำชุมชน / อสม เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ 2. จัดอบรมเสริมพลัง แก่ ผู้นำชุมชน อสม และประชาชน ฝ3. จัดกิจกรรมขยะแลกไข่ ในพื้นที่หมู่ที่ 1 5 6 และ12 ตำบลโคกสัก

ชื่อกิจกรรม
1. จัดประชุมชี้แจงโครงการ ให้ผู้นำชุมชน / อสม เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ 2. จัดอบรมเสริมพลัง แก่ ผู้นำชุมชน อสม และประชาชน ฝ3. จัดกิจกรรมขยะแลกไข่ ในพื้นที่หมู่ที่ 1 5 6 และ12 ตำบลโคกสัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมชี้แจงโครงการ ให้ผู้นำชุมชน / อสม เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ

- ค่าป้ายไวนิลจัดประชุมโครงการ ขนาด 1.5 x 2.5 เมตร ตารางเมตรละ ๒๐๐ บาท เป็นเงิน 750 บาท - ค่าอาหารว่าง 25 บ x 40 คน x 1มื้อ   = 1,000 บ.                               รวมเป็นเงิน  = 1,750 บ. 2. จัดอบรมเสริมพลัง แก่ ผู้นำชุมชน  อสม และประชาชน โดยจัดแบ่งเป็นรุ่น จำนวน 4 รุ่น  (45คน/รุ่น) รุ่นที่ 1  อสม.  ผู้นำชุมชน และประชาชน หมู่ที่ 1 บ้านหลังสถานี (เขต อบต.โคกสัก)
รุ่นที่ 2 อสม.  ผู้นำชุมชน และประชาชน หมู่ที่ 5 บ้านห้วยเนียง

รุ่นที่ 3 อสม.  ผู้นำชุมชน และประชาชน หมู่ที่ 6 บ้านหนองบ่อ

รุ่นที่ 4 อสม.  ผู้นำชุมชน และประชาชน หมู่ที่ 12 บ้านทวดทอง


- ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 50 คน x  มื้อ  =  1,250 บ - ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บ.x 3ชม.    = 1,800 บ. - ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 50 คน x  มื้อ  =  1,250 บ - ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บ.x 3ชม.    = 1,800 บ. - ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 50 คน x  มื้อ  =  1,250 บ - ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บ.x 3ชม.    = 1,800 บ.
- ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 50 คน x  มื้อ  =  1,250 บ - ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บ.x 3ชม.    = 1,800 บ.   หมายเหตุ ค่าอาหารว่าง (ผู้เข้าอบรม ผู้จัด และวิทยากร)
- ค่าป้ายไวนิลในการจัดอบรมตามโครงการ ขนาด 1.5 x 2.5 เมตร ตารางเมตรละ ๒๐๐ บาท หมู่บ้านละ 1 ป้าย จำนวน 4 ป้าย เป็นเงิน 3,000 บาท                รวมเป็นเงิน = 15,200 บ.
3. จัดกิจกรรมขยะแลกไข่ ในพื้นที่หมู่ที่ 1 5 6 และ12
   ตำบลโคกสัก       สำหรับอัตราแลกเปลี่ยน ถุงพลาสติกแห้ง 1 กก./ไข่ไก่ 1 ฟอง ขวดน้ำพลาสติกขาวขุ่น 2 กก./ไข่ไก่ 3 ฟอง ขวดพลาสติกทั่วไป 1 กก./ไข่ไก่ 2 ฟอง ขวดแก้วแยกสี 5 กก./ไข่ไก่ 1 ฟอง กระป๋องน้ำอลูมิเนียม 1 กก./ไข่ไก่ 10 ฟอง กล่องกระดาษ 1 กก./ต่อไข่ไก่ 2 ฟอง กระดาษสีขาว 1 กก./ต่อไข่ไก่ 1 ฟอง กระดาษสีน้ำตาล 2 กก./ไข่ไก่ 1 ฟอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กันยายน 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และสามารถดัดแปลงหรือใช้ประโยชน์จากขยะเป็นรายได้
  • ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพแวดล้อมของตนเอง ดูจากความสะอาดครัวเรือนและชุมชน
  • หมู่บ้าน/ชุมชนมีอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่นำโดยสัตว์และแมลงเป็นสื่อลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและสามารถดัดแปลง หรือใช้ประโยชน์จากขยะเป็นรายได้
2 ชุมชนมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพแวดล้อมของตนเอง
3 อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่นำโดยสัตว์และแมลงลดลง


>