กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

รพ.สต.ผัง34 และ รพ.สต.ตำบลอุใดเจริญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

 

0.00
2 จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

0.00

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิา และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู้ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู้ร่างกาย ทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมาเช่นโรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ เป็นต้น ตำบลอุใดเจริญเป้นตำบลหนึ่ง ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม ดดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร มากถึงร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช คาดว่ากระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังไม่ได้รับการประเมิณภาวะเสี่ยง ผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรว่าอยู่ในระดับใด ประกอบกับเกษตรกรในตำบลอุใดเจริญ ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิะี และขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 34 จึงเล็งเห็นความสำคัยของสุขภาพเกษตรกรในตำบลอุใดเจริญจึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองหาสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลอุใดเจริย ได้รับการตรวจสุขภาพ และเจาะเลือดเพื่อดูปริมารสารเคมีตกค้างในกระแยเลือดว่าอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรที่มีผลต่อสุขภาพ

ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรได้รับการตรวจหาระดับโคลีนเอสเทอเรสในเลือดอย่างน้อยร้อยละ 80

2 เพื่อเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของเกษตรกร
  1. เกษตรกรผู้ผา่นการตรวจฯทราบระดับความเสี่ยงต่อภาวะสารเคมีตกค้างใน เลือด ของตนเอง ร้อยละ 100
  2. เกษตรกรผู้ผ่านการตรวจหาระดับโคลีนเอสเทอเรสในเลือด และมีความเสี่ยงได้รับความรู้และปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ร้อยละ 100
3 เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรุ้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง

การลดลงของระดับโคลีนเอสเทอเรสของผู้ที่มีความเสี่ยง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้

  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.* 95 คน = 4,750 บ.

  • ค่าอาหารว่าง 25 บ.*2 มื้อ * 95 คน = 4,750 บ

  • ค่าชุดทดสอบเอนไซโคลีนเอสเทอเรส 16 ชุด = 16,000 บ.

  • ค่าป่ายไวนิลโครงการ 13 ม.150 บาท *2 = 900 บ.

รวม 26,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการตรวจคัดกรองหาระดับโคลีนเอสเทอเรส เพื่อประเมินระดับของสารเคมีในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26400.00

กิจกรรมที่ 2 การตรวจคัดกรองหาระดับโคลีนเอสเทอเรสในเลือดเกษตรกร ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การตรวจคัดกรองหาระดับโคลีนเอสเทอเรสในเลือดเกษตรกร ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย ตรวจคัดกรองหาระดับเอนไซย์โคลีนเอสเทอเรสในชุมชน

  • ค่าตอบแทน 100 บ.*10 คน * 4ครั้ง = 4,000 บ. (ในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านผัง 34)

  • ค่าตอบแทน 100 บ.*5 คน * 5ครั้ง = 2,500 บ.(ในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.อุใดเจริญ)

รวมเป็นเงิน 6,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรได้รับการตรวจหาระดับโคลีนเอสเทอเรสในเลือดอย่างน้อยร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการตรวจคัดกรองหาระดับโคลีนเอสเทอเรส เพื่อประเมินระดับของสารเคมีในเลือด
2. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลอุใดเจริญ เตือนชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพของเกษตรกรในชุมชน สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป


>