กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพ "กลองยาวสร้างสุข"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด

ตำบลน้ำผุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปราถนา การมีสุขภาพที่ดีประชาชนจะต้องมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม คือ เรื่องการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ เมื่อเจ็บป่วยต้องมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี เริ่มต้นที่ประชาชนต้องรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง มีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมตามวัย เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ เพราะโรคบางโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ส่่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ออกกำลังกาย การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย การที่คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดีที่สุด ดังนั้นประชาชนควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตนเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงห่างไกลโรค แต่เนื่องจากการออกกำลังกายมักน่าเบื่อ ไม่มีจุดดึงดูดความสนใจให้ออกกำลังกาย การตีกลองยาวและรำกลองเป็นการออกกำลังกายอีกวิธีหนึ่งที่สร้างความสนใจให้ประชาชน เนื่องจากมีความสนุกสนานเพลิดพลินสามารถออกกำลังกายเป็นกลุ่ม ทำให้มีเพื่อนในการออกกำลังกาย จึงรู้สึกไม่น่าเบื่อ และสามารถออกกำลังกายได้ทุกกลุ่มวัย ได้ทั้งเรื่องความแข็งแรงของร่างกาย ได้ทั้งเรื่องของอารมณ์จิตใจและด้านสังคม และเป็นการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมของประชาชนในตำบลน้ำผุด โดยการนำนวัตกรรมด้านภูมิปัญยาวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ผ่านกิจกรรมร้อง เล่น เต้น รำ ด้วยกลองยาว ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการออกกำลังกายแบบใหม่ที่น่าสนใจ สามารถสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกายจิตใจได้อย่างเหมาะสมวัย มีดนตรีประกอบที่สนุกสนาน คนเล่นดนตรีก็ได้ฝึกซ้อมดนตรี โดยเสียงดนตรีจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้มีอารมณืที่แจ่มใสขึ้น เครรื่องดนตรีก็มีการแบกหามใช้กำลังในการตี คนรำกลองยาวก็จะได้เคลื่อนไหวร่างกายออกกำลังกาย มีความสนุกสนาน สามัคคีและสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนต่อไปได้ในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ "กลองยาวสร้างสุข" ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการออกกำลังกายโดยการรำและตีกลองยาวอย่างถูกต้องและสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง

ประชาชนสามารถออกกำลังกายโดยการรำและตีกลองยาวได้อย่างถูกวิธี

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนเกิดทักษะในการตีและรำกลองยาว และสามารถนำมาปรับใช้ในการออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรง สุขภาพดีทั้งกายและใจ

มีการประเมินสภาวะทางด้านร่างกายและหลังจัดกิจกรรม โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพกายดีขึ้นโดยรวมอย่างน้อยร้อยละ 70

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/04/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชุมผู้นำชุมชน สมาชิกสภาอบต. เพื่อวางแผนเตรียมโครงการ กลุ่มเป้าหมาย วิทยากร และกำหนดสถานที่จัดฝึกอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดฝึกอบรมให้ความรู้และฝึกทักษะ และภาคปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
2.จัดฝึกอบรมให้ความรู้และฝึกทักษะ และภาคปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 วัน ๆละ 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 57 คน ๆละ 60 บาท จำนวน 5 วัน เป็นเงิน 17,100 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 57 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 5 วัน(2 มื้อ/วัน) เป็นเงิน 14,250 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1*3 เมตร เป็นเงิน 360 บาท
  • ค่าวัสดุประกอบการอบรม 50 ชุด ๆ ละ 67 บาท เป็นเงิน 3,350 บาท
  • กระเป๋าผ้า จำนวน 50 คน ๆละ 35 บาท
  • สมุด จำนวน 50 เล่ม ๆละ 25 บาท
  • ปากกา จำนวน 50 ด้าม ๆละ 7 คน
  • ค่าอุปกรณ์ในการฝึกอบรม เป็นเงิน 30,000 บาท
  • กลองยาวคัดเกรดหนังเรียด ขนาด 10 นิ้ว จำนวน 5 ตัว ๆละ 2,250 บาท เป็นเงิน 11,250 บาท
  • กลองยาวคัดเกรดหนังเรียด ขนาด 11 นิ้ว จำนวน 2 ตัว ๆละ 2,450 บาท เป็นเงิน 4,900 บาท
  • Keyboard pastel 61 keys SIAM61 จำนวน 1 ตัว เป็นเงิน 6,480 บาท
  • กลองทรีโอ#Paramountจำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 5,800 บาท
  • แฉ Vanis PRC 12" Splash/Clash จำนวน 1 ใบ เป็นเงิน 650 บาท
  • คาวเบลเล็ก 1 อัน เป็นเงิน 420 บาท
  • ขาเสริมจับคาวเบล 1 อัน เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
83060.00

กิจกรรมที่ 3 3. สรุปและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
3. สรุปและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1สรุปผลการจัดกิจกรรมและประเมินผลจำดทำแบบสอบถามประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 83,060.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ความประทับใจ และความซาบซึ้งในเรื่องของประเพณีการละเล่นกลองยาว
2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเล่นกลองยาวเป็นคณะได้ ในขณะเดียวกันนางรำก็สามารถที่จะรำประกอบกลองยาวเป็นคณะได้ด้วย
3. ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้งคณะกลองยาวและคณะนางรำสามารถร่วมกันเล่นกลองยาวได้เป็นประจำ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพพลานามัย ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ
4. คณะกลองยาวและคณะนางรำที่เข้ารับการฝึกอบรม สามารถให้บริการแก่ชุมชนได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และสนับสนุนประเพณีวัฒนธรรมของชาติ เช่น งานทอดผ้าป่า งานทอดกฐิน เป็นต้น


>