กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระวะ

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลระวะ

ตำบลระวะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบผู้ป่วย ได้ในทุกกลุ่มอายุ อาการของโรคไข้เลือดออก มีตั้งแต่อาการที่ไม่รุนแรงจนถึงมีอาการรุนแรง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมายาวนาน มีอัตราเจ็บป่วยตลอดทั้งปี และมีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูฝน ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้มีแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการตัดวงจรชีวิตยุงลายใช้หลัก 5 ป 2 ข เพื่อลดจำนวนพาหะนำโรค การใช้ทรายทีมีฟอส และการฉีดพ่นหมอกควันเพื่อทำลายยุงลายตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นทางเลือกในลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดสงขลา ติด 1 ใน 5 ของภาพรวมประเทศ โดยมีจำนวนผู้ป่วยสะสม 3,817 ราย (ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 29 สิงหาคม 2566) อำเภอระโนด มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 71 รายในตำบลระวะมีจำนวน 8 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย จากสถานการณ์การระบาดที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อชีวิตของประชาชน ทางสำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลระวะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อป้องกันควบคุมสถานการณ์และลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลระวะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

50.00 50.00
2 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงลายตัวเต็มวัย

ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2023

กำหนดเสร็จ 31/10/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พ่นหมอกควันควบคุมโรค เคสละ 3 ครั้ง วันที่ 0, 1 และ 7

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควันควบคุมโรค เคสละ 3 ครั้ง วันที่ 0, 1 และ 7
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เครื่องพ่นหมอกควัน จำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน 59,000 บาท
  2. ค่าสารเคมี จำนวน 4ลิตร เป็นเงิน 6,600 บาท
  3. ค่าทรายทีมีฟอสกำจัดลูกน้ำยุงลายจำนวน 1ถังเป็นเงิน 4,900 บาท
  4. ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควัน ครั้งละ 300 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
  5. ค่าชุดอุปกรณ์ป้องกันการพ่นหมอกควัน จำนวน 2 ชุดเป็นเงิน 4,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
92900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 92,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
3. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>