กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่างไกลข้อเข่าเสื่อม ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง

ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ครอบครัวเป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุดของมนุษย์การดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะนำไปสู่การพัฒนาสังคม การดูแลสุขภาพเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ จนถึงเป็นผู้สูงอายุ ในทุกช่วงวัยก็จะมีภาวะแทรกซ้อนทางด้านสุขภาพที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะเมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ประกอบกับการกินอาหารในยุคปัจจุบัน ทำให้จำนวนของคนที่เป็นโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือข้อเข่าเสื่อมข้อเข่าเสื่อมพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของประชากรที่มีอายุเกิน 55 ปีขึ้นไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะทุพพลภาพได้ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ อายุที่มากขึ้นจะทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ ผลจากเยื่อบุข้ออักเสบทำให้เกิดการทำลายโครงสร้างของกระดูกอ่อนเช่น โรคข้อรูมาตอยด์ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ทำให้การรับส่งแรงของข้อเข่าเปลี่ยนแปลงไป ผู้ที่มีน้ำหนักมากทำให้เกิดแรงกดทับจากการรับน้ำหนัก ผู้ที่ใช้งานข้อเข่ามากเกินไป ทำให้แนวเข่าโก่งงอกว่าปกติ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บของข้อ และรวมถึงพันธุกรรมก็มีส่วน หากพบว่าบุคคลในครอบครัวเป็นข้อเข่าเสื่อมก็จะมีความเสี่ยงสูงที่บุคคลในครอบครัวคนอื่น ๆ จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนทั่วไป
จากข้อมูลผู้สูงอายุ ปี 2565ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง พบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่มีภาวะปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม ซึ่งกลุ่มเหล่านี้อาจมีอาการที่รุนแรงขึ้นตามลำดับ หากมีวิธีที่ช่วยบรรเทาหรือลดอาการเจ็บปวดจากภาวะข้อเข่าเสื่อม จะช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเป็นไปอย่างราบรื่น อีกทั้งเป็นการลดภาระและค่าใช้จ่ายในการรักษาของญาติ หรือผู้ดูแล
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา หากกลุ่มต่าง ๆ มีอาการที่รุนแรงตามมาที่อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ตลอดจนการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมรุนแรง จนไม่สามารถเดินหรือทำกิจวัตรด้วยตนเอง เป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะทุพพลภาพได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ สามารถคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม โดยการนวดกดจุด และการพอกเข่า

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน   50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ            เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มแกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มแกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน   50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ            เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท             เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำสุขภาพมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม
2. แกนนำสุขภาพมีการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้แก่บุคคลในครอบครัวและชุมชน


>