กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการตรวจประเมินมาตราฐานสุขาภิบาลอาหาร ประชาสัมพันธ์เเละรณรงค์การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ในเขตเทศบาลตำบลท่าเสา ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่าเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจประเมินมาตราฐานสุขาภิบาลอาหาร ประชาสัมพันธ์เเละรณรงค์การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ในเขตเทศบาลตำบลท่าเสา ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่าเสา

ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคเทศบาลตำบลท่าเสา

นางสาวสายใจสากล

พื้นที่ทั้ง 6 ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลท่าเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันตำบลท่าเสา มีสถานประกอบการต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอย ตลาดนัด ร้านขายของชำในหมู่บ้านประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยการโฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่ายการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้
ทางชมรมคุ้มครองผู้บริโภคจำเป็นต้องทำการตรวจร้านชำ ร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยอยู่เสมอเนื่องจากสถานประกอบการต่าง ๆ ในตำบลมีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ในแต่ละปี เพื่อประเมินร้านค้าพร้อมทั้งให้ความรู้แก่ร้านค้าสามารถเลือกอาหารที่ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนมาจำหน่ายแก่ประชาชนตำบลท่าเสา ทางชมรมคุ้มครองผู้บริโภคเทศบาลตำบลท่าเสาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร และให้ประชาชนตำบลท่าเสาปลอดภัยจากการอุปโภคและบริโภค มีสุขภาวะที่ดีจากการบริโภคอาหารปลอดภัยสืบต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจประเมินมาตราฐานสุขาภิบาลอาหารเเละให้ความรู้เเก่ร้านขายอาหารเเละร้ายขายของชำ

ร้านขายอาหารเเละร้านขายของชำมีความรู้เรื่องมาตราฐานสุขาภิบาลอาหาร

0.00
2 เพื่อสร้างการรับรู้เเละเสริมเเรงสนับสนุุนการสร้างมาตราฐานสุขาภิบาลอาหารจากการคืนข้อมูลผลการตรวจให้เเก่ผู้ประกอบการ

ผู้ประกอบการรับรู้ข้อมูลของตนเองเพื่อสร้างมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารให้ดีขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 34
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านขายของชำ (ร้าน) 24
ร้านจำหน่ายอาหารเเละเเผงลอย (ร้าน) 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจร้านค้า

ชื่อกิจกรรม
สำรวจร้านค้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจร้านชำและร้านแผงลอยอาหารในชุมชน/ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ออกตรวจร้านค้า

ชื่อกิจกรรม
ออกตรวจร้านค้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกตรวจร้านขายของชำ 1 ครั้งและร้านจำหน่ายอาหาร 1 ครั้ง พร้อมทั้งให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร/จำนวน 6 คน * 100 บาท 2 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการได้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 3 เก็บตัวอย่างอาหาร

ชื่อกิจกรรม
เก็บตัวอย่างอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารที่มีจำหน่ายในพื้นที่เพื่อตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร/- ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิค(สารกันรา)ในอาหาร(150 test) จำนวน 1 ชุดๆละ 200 บาท                                       เป็นเงิน 200  บาท - ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(สารฟอกขาว)ในอาหาร(1100 test) จำนวน 1 ชุดๆละ 150 บาท   เป็นเงิน  150 บาท - ชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร (1100 test) จำนวน 1 ชุดๆละ 150 บาท        เป็นเงิน 150 บาท - ชุดทดสอบฟอร์มาลีนในอาหาร(11 test) จำนวน 5 ชุดๆละ 30 บาท            เป็นเงิน 150 บาท - ชุดทดสอบยาฆ่าแมลงแบบ OC kit พร้อมอุปกรณ์ตรวจ จำนวน 1 ชุดๆละ 1,250 บาท
                                                                                                เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพือ่หาอาหารที่มีสารปนเปื้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1900.00

กิจกรรมที่ 4 ออกตรวจร้านค้า

ชื่อกิจกรรม
ออกตรวจร้านค้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกตรวจร้านขายอาหารโดยตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย พร้อมทั้งให้ความรู้ /น้ำยาทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ในการตรวจร้านขายอาหารจำนวน 100 ขวด *20 บาท                                                                    เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อหาอารหารที่มีสารโคลิฟอร์มปนเปื้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 5 หนังสือคืนข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
หนังสือคืนข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำหนังสือคืนข้อมูลผลการตรวจร้านอาหารพร้อมความรู้ และส่งต่อข้อมูลผลการตรวจร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยให้เทศบาลตำบลท่าเสา เพื่อดำเนินการอบรมผู้ประกอบการต่อไป /ค่าถ่ายเอกสารหนังสือคืนข้อมูลพร้อมแผ่นความรู้(หน้า-หลัง) จำนวน 34 แผ่น แผ่นละ 0.5 บาท
   เป็นเงิน 17 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 28 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านค้ารู้ผลตรวจอาหารของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปผล

ชื่อกิจกรรม
สรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ /ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,117.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้านค้าเเผงลอยมีความรู้เเละตระหนักในเรื่องมาตราฐานสุขาภิบาลอาหาร เเละประชาชนบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยไม่พบสารปนเปื้อนในอาหารได้
2.ประชาชนตำบลท่าเสาสามารถบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้องเเละปลอดภัย


>