กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการทำยาดมสมุนไพรเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปี 2566 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 5 ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการทำยาดมสมุนไพรเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปี 2566 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 5 ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระวะ

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5

1 นางสาวยินดี จันทรพล
2 นางจุรีวรรณ รอดบุญมี
3 นางรำไพ รัตน์ทอง
4 นางจิระวรรณ ชูมาก
5 นางสุพิศ วรรณรัตน์

หมู่ที่ 5 ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงตามวัยขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชนเนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ทำให้อัตราการตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพิงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อมทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุดสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชิวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิมจะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในบั้นปลายชีวิต
ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจากผ่านประสบการณ์มามากได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อนมีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมายจำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกายเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่าง ๆ ซึ่งก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด ความคับข้องใจ แยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิตประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้นมีสารชีวเคมีและฮอร์โมนลดลง การสูญเสียสิ่งสำคัญของชีวิต เช่นการสูญเสียคู่ชีวิตเพราะตายจาก การสูญเสียบุตรเพราะแยกไปมีครอบครัว การสูญเสียตำแหน่งหนาที่การงานการสูญเสียสถานภาพหรือบทบาททางสังคม ตลอดจนการสูญเสียการเป็นที่พึ่งของครอบครัวสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุ และหากผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วจะยิ่งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุว้าเหว่มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง แยกตัวออกจากสังคม เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
จากความจำเป็นดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 5 ตำบลระวะจึงจัดทำโครงการรอบรมเชิงปฏิบัติการการทำยาดมสมุนไพรเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปี 2566 ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในการทำยาดมสมุนไพรเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพของตัวเองและครอบครัว ความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตรวมถึงชุมชน หน่วยอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุร่วมกันที่เข้มแข็งและยั่งยืนมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน

ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ร้อยละ 80

50.00 50.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ร้อยละ 80

50.00 50.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในเรื่องการทำยาดมสมุนไพรเพื่อใช้ในการดูสุขภาพตนเอง

ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในเรื่องการทำยาดมสมุนไพรเพื่อใช้ในการดูสุขภาพตนเอง ร้อยละ 80

50.00 50.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

ผู้สูงอายุได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

50.00 50.00
5 ผู้สูงอายุมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

ผู้สูงอายุมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ร้อยละ 30

40.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2023

กำหนดเสร็จ 31/10/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการทำยาดมสมุนไพรเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการการทำยาดมสมุนไพรเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.20 x 2.00 เมตรเป็นเงิน 360 บาท
  2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรม เป็นเงิน 4,660 บาท -การบูร
    -พิมเสน -เมนทอล -กระวาน -กานพลู -หัวบัว -ดอกจัน -ขวดแก้วพร้อมฝา
    -ผ้าตาข่าย
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
  2. ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  3. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในเรื่องการทำยาดมสมุนไพรเพื่อใช้ในการดูสุขภาพตนเอง
  4. ผู้สูงอายุได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
  5. ผู้สูงอายุมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7570.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,570.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ต่อครอบครัว และชุมชน
2. สร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ
3. ครอบครัวและชุมชน ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมของผู้สูงอายุ


>