กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเทศบาลตำบลยะรัง ปลอดโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะรัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เขตเทศบาลตำบลยะรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

32.00
2 ร้อยละของดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน(HI)

 

70.00
3 อัตราการป่วยของประชาชนด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่(ต่อแสนประชากร)

 

9.00

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในปี 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วรวม 65,552 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 99.05 ต่อประชากรแสนคน เพิ่มขึ้นสัปดาห์ละกว่า 5,000 ราย ยิ่งมีผู้ป่วยมากก็ยิ่งมีผู้เสียชีวิตมาก ถึงขณะนี้มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้วเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี เพื่อติดตามสถานการณ์โรคติดต่อที่สำคัญ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย โรคไข้เลือดออก โรคโควิด-19 โรคเรื้อน และวัณโรคปอด เป็นต้น โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี สรุปว่าโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มียุงลาย (ยุงลายบ้าน ยุงลายสวน) เป็นพาหะ ขณะนี้ โรคไข้เลือดออกในประเทศ ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๕ เป็นต้นมา และในปี ๒๕๖๖ ข้อมูล ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖ มีรายงานผู้ป่วยของประเทศ สะสม ๑๘,๑๗๓ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๗.๔๖ ต่อแสนประซากร จำนวนผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านในช่วงเวลาเดียวกันถึง ๔.๒ เท่า เสียชีวิต ๑๖ ราย โดยคาดว่าโรคไข้เลือดออกจะระบาดรุนแรงในปีนี้ สำหรับในพื้นที่เขตสุขภาพที่ ๑๒ พบผู้ป่วยสะสม ๒,๘๘๔ ราย เสียชีวิต ๔ ราย มีจังหวัดเข้าเกณฑ์เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) ระดับจังหวัด ได้แก่ สงขลา สตูล และนราธิวาส สำหรับสถานการณ์จังหวัดปัตตานี มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ สะสมรวม ๔๓๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๗๓.๕๗ ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต พร้อมติดตามสถานการณ์ โรคโควิด-19 ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ โรคโควิด-19 ข้อมูลระดับประเทศ วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รายใหม่ ช่วงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม-๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ จำนวน ๓,๐๘๔ ราย เฉลี่ยวันละ ๔๔๐ ราย/วัน รวมสะสมในปี ๒๕๖๖ จำนวน ๒๑,๑๒๔ ราย ผู้ป่วยเสียชีวิตรายใหม่ ๖๘ ราย นอกจากนี้ ยังได้ติดตามโรคเรื้อน ที่เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ และ วัณโรคปอด เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจด้วย อำเภอยะรัง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าในช่วงฤดูฝนนี้ อัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การเตรียมความพร้อมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกประกอบด้วย 3 เรื่องสำคัญ คือ 1) การป้องกันการถูกยุงกัด โดยทายากันยุง นอนในมุ้ง กำจัดยุงตัวเต็มวัยด้วยสเปรย์ ไม้ช็อตไฟฟ้า พร้อมกำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในภาชนะที่มีน้ำใสและนิ่ง เช่น ถาดรองขาตู้ ยางรถยนต์เก่า กระถางต้นไม้ เป็นต้น 2) การเฝ้าระวังอาการของโรค เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร หน้าแดง ผิวหนังเป็นจุดเลือด อาเจียน ปวดท้อง และ 3) การไปพบแพทย์เร็วเมื่อป่วยและมีไข้สูง เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรค และเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงไข้ลดหากเกิดอาการช็อกจากไข้เลือดออก ต้องรีบกลับไปโรงพยาบาลให้เร็วสุด อย่างไรก็ตามประชาชนต้องให้ความสำคัญกับมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค คือ 1) เก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง 2) เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ และ 3) เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หากช้าอาจทำให้เสียชีวิตได้
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลยะรัง มีประชากรทั้งหมด 5,151 คน จำนวนครัวเรือน 1,410 ครัวเรือน ได้ดำเนินการป้องกันมาอย่างต่อเนื่องจึงเห็นความสำคัญต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อประชาชนได้รับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดอย่างทั่วถึง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออก(ร้อยละ)

2.00 2.00
2 2.เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน(HI)

ร้อยละของดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน(HI)

3.00 3.00
3 3.เพื่อลดอัตราการป่วยของประชาชน ด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่(ต่อแสนประชากร)ลง

ลดอัตราการป่วยของประชาชนด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่(่อแสนประชากร)

3.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5,151
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/09/2023

กำหนดเสร็จ 30/11/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.การพ่นสารเคมีเผชิญเหตุและพ่นประจำ

ชื่อกิจกรรม
1.การพ่นสารเคมีเผชิญเหตุและพ่นประจำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จ้างพ่นโดยทีม SRRT ของเทศบาลตำบลยะรังในลักษณะ 2 แบบ คือ พ่นประจำตามโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และหน่วยงานราชการ และแบบที่ 2 คือ พ่นรัศมี 100 เมตร รอบบ้านที่พบผู้ป่วยตามแนวทาง วันที่ 1 วันที่ 3 และวันที่ 7 - ค่าเครื่องพ่นหมอกควันแบบอัตโนมัติ จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 81,000 บาท - ค่าจ้างพ่นเผชิญเหตุ จำนวน 30 ครั้ง x 2 คน x 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าทรายอะเบท จำนวน 1 ถังบรรจุ 500 ซอง เป็นเงิน 5,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กันยายน 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ลดดัชนีลูกน้ำ ยุงลายในบ้านเรือน(HI)
  • ประชาชนได้รับความปลอดภัย จากโรคไข้เลือดออก
  • ลดอาการป่วยจากโรคไข้เลือดออก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
89200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 89,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลยะรังได้รับความปลอดภัยห่างไกลโรคไข้เลือดออกระบาดในพื้นที่
2.ดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านครัวเรือนลดลง
3.ลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่


>