กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ขุนตัดหวาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ขุนตัดหวาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนตัดหวาย

ตำบลขุนตัดหวายอำเภอจะนะจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อสม. เป็นกลุ่ม/องค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และเป็นผู้ที่รู้ปัญหาความต้องการของประชาชนในชุมชนได้เป็นอย่างดี เป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในตำบลที่สามารถให้บริการแก่ประชาชนขั้นพื้นฐานได้ทันท่วงทีเนื่องจากอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลขุนตัดหวายมี อสม. ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลืองานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาพ พร้อมทั้งกระจายข่าวสารด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในเขตที่ตัวเองรับผิดชอบได้รับทราบ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ทั่วถึง และทันเวลา สำหรับกิจกรรมที่ อสม.ดำเนินการในพื้นที่ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การเยี่ยมบ้านกลุ่มปกติกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังรวมทั้งกิจกรรมการตรวจคัดกรองต่างได้แก่การชั่งน้ำหนักเด็ก วัดความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจน้ำตาลในเลือด การนัดให้ไปรับบริการต่าง ๆ ที่ รพ.สต. ฯลฯ ซึ่งในแต่ละกิจกรรมก็ต้องมีอุปกรณ์ในการให้บริการ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัดรอบเอว หรืออื่น ๆ ที่สนับสนุนการให้บริการ ในขณะเดียวกัน ความพร้อมของอุปกรณ์ดังกล่าว ยังมีไม่เพียงพอ ในการให้บริการประชาชน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนตัดหวายจึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนขึ้นเพื่อให้อสม.ใช้ในการติดตามเยี่ยมบ้านและประชาชนมีความสะดวกในการรับบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นในหมู่บ้านที่เขาอาศัยอยู่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการที่จะเข้าถึงบริการในกรณีที่จำเป็น โดยที่บางครั้งไม่จำเป็นที่จะต้องไปรับบริการที่ รพ.สต. เป็นการประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้กับผู้รับบริการได้อีกด้วย เช่นการวัดความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจหาน้ำตาลในเลือด และชั่งน้ำหนักรวมถึงการให้บริการช่วงเวลาที่มีการรณรงค์ตรวจสุขภาพในพื้นที่ด้วย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่สามารถดำเนินการในชุมชนได้โดย อสม.

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมายได้รับกา่รตรวจคัดกรองสุขภาพ ร้อยละ 90

0.00 0.00
2 เพื่่อให้กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน

กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 95

0.00
3 เพื่่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถลดระดับน้ำตาล และความดันโลหิตได้

กลุ่มเสี่ยงลดระดับน้ำตาล และความดันโลหิตได้  ร้อยละ 10

0.00
4 เพื่อให้กลุ่มป่วยโรคเรื้อรังสามารถควบคุมระดับน้ำตาล และความดันโลหิตได้

กลุ่มป่่วยโรคเรื้อรังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตได้ ร้อยละ 40

0.00

เพื่อให้มีอุปกรณ์พร้อมใช้ที่เพียงพอ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,103
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง อสม.เกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง อสม.เกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงอสม.เกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินงานตรวจสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินงานตรวจสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ดำเนินงานตรวจสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังและให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว
  • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลจำนวน 4 เครื่องๆ ละ 3,500 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท
  • ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักจำนวน 4 เครื่องๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการคัดกรอง และได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมตามสุขภาพของตัวเอง
  • อสม.ได้รับอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16800.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่และอสม. ในระยะเวลา 1, 3 และ 6 เดือน
  • ติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่สาธารณะสุข และ อสม.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อสม. ในหมู่บ้านมีอุปกรณ์พร้อมให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง และต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ทุกกลุ่มวัยกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน


>