กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการอาบน้ำมัยยิด(ศพ)ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจ่ายเชื้อในชุมชน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการอาบน้ำมัยยิด(ศพ)ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจ่ายเชื้อในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

คณะกรรมการม้สยิดบ้านท่ามาลัย

1.นายอัสรุต กองบก

2.นายชาฟีอี องศารา

3.นายปรีชา ติงหวัง

4.นายสมาน มะสันติ์

5.นางบัดสาระ องศารา

หมู่ 6 บ้านท่ามาลัยตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ความสำคัญของโครงการสถานการณ์

ในปัจจุบันปัญหาการอาบน้ำมัยยิดขาดความรู้ความเข้าใจของคนรุุ่นใหม่ในชุมชนชึ่งคนรุ่นเก่าได้แก่ชราลงทำให้คนรุ่นใหม่จำเป็นที่ต้องสืบทอดความรู้ในการอาบน้ำศพที่มีภาวะเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเช่นโรควัณโรค และโรคติดเชื้อต่างๆจึงได้มีการ จัดอบรมให้ความรู้ขั้นตอนการอาบน้ำมัยยิดที่เป็นโรคทำอย่างไรและมัยยิดที่ไม่เป็นโรค ขั้นตอนการห่อมัยยิดปฏิบัติอย่างถูกต้อง เมื่อมุสลิมเสียชีวิตญาติหรือผู้เกี่

80.00
2 สถานการณ์ปัญหาของหมู่ที่ 6 บ้านท่ามาลัยในการจัดการมัยยิดเป็นปัญหาที่จะต้องมีการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้มีการเรียนรู้เรื่องการจัดการมัยยิด(ศพ)เพราะคนรุ่นก่อนที่มีการจัดการมัยยิดในชุมชนอยู่เป็นประจำได้ชราภาพมีปัญหาด้านสุขภาพและในปัจจุบันยังมีโรคระบาดต่างๆ

 

80.00

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันปัญหาการอาบน้ำมัยยิดขาดความรู้ความเข้าใจของคนรุุ่นใหม่ในชุมชนชึ่งคนรุ่นเก่าได้แก่ชราลงทำให้คนรุ่นใหม่จำเป็นที่ต้องสืบทอดความรู้ในการอาบน้ำศพที่มีภาวะเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเช่นโรควัณโรค และโรคติดเชื้อต่างๆจึงได้มีการ อบรมให้ความรู้ขั้นตอนการอาบน้ำมัยยิดที่เป็นโรคทำอย่างไรและมัยยิดที่ไม่เป็นโรค ขั้นตอนการห่อมัยยิดปฏิบัติอย่างถูกต้อง เมื่อมุสลิมเสียชีวิตญาติหรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องอาบน้ำ ห่อละหมาดขอพรและฝั่งที่สุสาน(กุโบร์) โดยต้องรีบจัดการให้เสร็จ ภายในเวลา 24 ชั่วโมง
อิสลามส่งเสริมให้ผู้ที่จะทำการอาบน้ำให้กับศพนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอาบน้ำศพตามหลักการที่ถูกต้องซึ่งขั้นตอนการอาบน็ำและห่อศพผู้เสียชีวิต นั้น โดยส่วนใหญ่จะทำกันที่บ้านของผู้เสียชีวิตและมักจะไม่มีการป้องกันอย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ เช่น การสวมถุงมือยางที่ไม่ถุกต้องไม่มีการสวมผ้าปิดปาก เป็นต้น ซึ่งการเสียชีวิตของมนษย์ มีลักษณะหลายรูปแบบ ตามเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดแพร่กระจ่ายเชื้อทั้งที่จัดการศพเองและคนในชุุมชน ดังนั้นทางอีหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด หมู่ 6 บ้านท่ามาลัยจึงเล็งเห็นความสำคัญนี้ในการถ่ายทอดความรู้ต่อผู้ที่จัดการศพเองและคนในชุมชน จึงได้ได้เสนอโครงการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการจัดการศพ โดยหลักศาสนาอิสลาม เพื่อให้ผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพมีความรู้มีความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพและการจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม และตามลักษณะ เพื่อลดการการแพร่กระจายเชื้อที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการศพ และคนในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ญาติผู้ป่วยหรือผู้ที่ทำหน้าที่จัดการศพในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้อง ตามหลักศาสนาอิสลาม และได้รับการเรียนประสบการณ์ตรง

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม ร้อยละ 100 ผู้เข้ารับอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ80

100.00 100.00
2 เพื่อให้ญาติผู้ป่วยหรือผู้ทำหน้าที่จัดการศพในชุมชน มีความรู้เข้าใจเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่ระกระจายเชื้อที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจัดการศพ

ผู้ที่รับการอบรมมีความเข้าใจสามารถการอาบน้ำศพ การห่อศพ ที่ถูกต้อง

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่อง บทบาทหน้าที่มุสลีมีน/มุสหม๊ะที่เกี่ยวข้องกับการการอาบน้ำมัยยิด สิ่งที่ควรปฏิบัติแก่มุสลิมภายหลังเสียชีวิต มารยาทและดุอาร์ที่เกี่่ยวข้องกับการจัดการมัยยิด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่อง บทบาทหน้าที่มุสลีมีน/มุสหม๊ะที่เกี่ยวข้องกับการการอาบน้ำมัยยิด สิ่งที่ควรปฏิบัติแก่มุสลิมภายหลังเสียชีวิต มารยาทและดุอาร์ที่เกี่่ยวข้องกับการจัดการมัยยิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง 2 มื้อX 35บาท จำนวน 60 คน = 4,200 บาท

-ค่าอาหารกลางวัน1 มื้อ 100 บาท จำนวน 60 คน= 6,000บาท

-อุปกรณ์การอบรม60 ชุด ชุดละ 50 บาท = 3,000 บาท

-ค่าป้ายไวนิล 1แผ่นป้าย= 600 บาท

-ค่าวิทยากร 6ชั่วโมง ๆละ 600 บาท=3,600 บาท

ค่าเครื่องเสียงและค่าสถานที่1,000บาท


กำหนดการ

8.00 น.- 9.00นลงทะเบียนเวลา กรรมการฯมัสยิดรับผิดชอบ

9.00น-9.30.นพิธีเปิด โดยอีหม่ำมัสยิดบ้านท่ามาลัย

9.30-12 .00นอบรมวิธีการอาบน้ำมัยยิด โดยอาจารย์อาหลี นวดงาม

เวลา 10.30น รับท่านอาหารว่างและเครื่องดื่ม

12.00น -13.00นรับประทานอาหารกลางวัน

13.00น-16.00นอบรมภาคปฏิบัตรการอาบน้ำมัยยิดชายหญิง

เวลา16.00น รับอาหารว่างเดินทางกลับบ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมร้อยละ100
มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของมุสลีมีนและมุสลีหม๊ะที่เกี่ยวข้องกับการอาบน้ำศพ การห่อศพ ขั้นตอนการดุอาร์  60 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมอุปกรณ์อาบน้ำทัยยิด ขั้นตอนการอาบน้ำมัยยิด และการห่อศพ ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมอุปกรณ์อาบน้ำทัยยิด ขั้นตอนการอาบน้ำมัยยิด และการห่อศพ ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง35 x บาท 2 มื้อจำนวน60 คน = 4,200 บาท

-ค่าอาหารกลางวัน100 บาท 1 มื้อ จำนวน 60 คน = 6,000 บาท

-ค่าเตรียมอุปกรณ์ การจัดการมัยยิด 2ชุด ชุดละ 3,800 บาท=7,600 บาท

-ค่าอุปกรณ์ หุ้นจำลองจำนวน 2 ชิ้น2,000 บาท

-ค่าวิทยากร6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท=3,600 บาท

** กำหนดการ** 8.00น-9.00นลงทะเบียน

9.00น-12.00น อบรมการห่อมัยยิด ชาย

10.30นรับประทานอาหารว่าง

12.00น-13.00นรับประทานอาหารกลางวัน

13.00น-16.00น อบรมเตรียมการผ้าห่อมัยยิดทั้งหญิงชาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมร้อยละ100
ได้มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้จัดการกับศพนั้นๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมกลุ่ม 2 รุ่น (ชาย -หญิง)รวม 60 คน เพื่อฝึกปฏิบัติการ การเตรียมอุปกรณ์การอาบน้ำมัยยิดและการห่อ ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกลุ่ม 2 รุ่น (ชาย -หญิง)รวม 60 คน เพื่อฝึกปฏิบัติการ การเตรียมอุปกรณ์การอาบน้ำมัยยิดและการห่อ ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ35 บาท x60คน = 4,200 บาท

-ค่าอาหารกลางวัน1 มื้อ 100 บาท X 60 คน = 6,000 บาท

-ค่าวิทยากร6ชั่วโมงๆละ 600 บาท = 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมร้อยละ100 ผู้เข้าร่วมได้มีการแบ่งกลุ่มชาย -หญิงเพื่อปฏิบัติการอาบน้ำมัยยิด  การห่อมัยยิด จำนวน 60 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,600.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทำให้ญาติหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการศพในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม และไดัรับการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

2.ทำให้ญาติผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพ ตามหลักสุขลักษณะสามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจัดการศพ


>