กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดบริการคลินิกใกล้บ้าน ลดเสี่ยง ลดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1. นายเอนกกลิ่นรส
2. นางสาวณัฎฐณิชาสมจิตร
3. นางสาวเบญจมาศเกื้อสุข
4. นางกิตติยาพรหมปาน

พื้นที่ หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

7.71
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

4.67

ปัจจุบันปัญหาโรคเรื้อรังกำลังเป็นภัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญของคนไทยเนื่องจากโรคเรื้อรังที่เมื่อเริ่มเป็นแล้วมักไม่หายขาดจะต้องให้การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้ลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเป็นอันตรายรุนแรงจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าประชาชนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งโรคเรื้อรังที่พบมากได้แก่โรคหัวใจโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีและจากข้อมูลการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพัทลุงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆเพิ่มขึ้นทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นและผู้ป่วยเกิดความท้อแท้เหนื่อยหน่ายหมดกำลังใจจากการศึกษาและวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่าสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องกลับเข้ามารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในเป็นประจำเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้1) การเดินทางมารับบริการไม่สะดวกทำให้ผู้ป่วยขาดนัดและการรักษาไม่ต่อเนื่อง2) ผู้ป่วยขาดความรู้มีทัศนะคติและการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องทำให้การดูแลสุขภาพไม่ถูกต้อง3) ผู้ป่วยท้อแท้หมดกำลังใจจากการเจ็บป่วยทำให้ละเลยในการดูแลสุขภาพ4) ญาติครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพน้อยดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกชะงายร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวจึงจัดทำโครงการให้บริการคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานโรคเก๊าต์ในพื้นที่เขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวและใกล้เคียงกำหนดเดือนละ1ครั้งตรงกับวันศุกร์แรกของทุกเดือนโดยได้รับความร่วมมือจากพยาบาลเวชปฏิบัติเครือข่ายบริการปฐมภูมิหัวถนนคือโรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน หัวถนนและทีมสหสาขาวิชาชีพโรงพยาบาลพัทลุงให้บริการดูแลผู้ป่วยและกระตุ้นให้ผู้ป่วยญาติชุมชนเห็นความสำคัญและร่วมกันดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

7.71 0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

4.67 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 539
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/01/2024

กำหนดเสร็จ 05/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้สุขศึกษารายกลุ่มเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
ให้สุขศึกษารายกลุ่มเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้สุขศึกษารายกลุ่มเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เดือนละ 1 ครั้ง ในวันศุกร์สัปดาห์ที่ 1 ของทุกเดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มกราคม 2567 ถึง 5 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับความรู้ ตระหนัก ในการลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง โดยแพทย์  เภสัชกร เป็นผู้ให้ความรู้ กับผู้ป่วยทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 30 คน โรคความดันโลหิตสูง 130 คน (คัดเลือกเริ่มผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ และควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 80 คน)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 30 คน โรคความดันโลหิตสูง 130 คน (คัดเลือกเริ่มผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ และควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 80 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร 1 คน เวลา 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม จำนวน 80 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 80 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 7 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมน้ำตาลและความดันโลหิต ไม่ได้ มีความรู้และตระหนักถึงผลของภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดตามพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในวันที่มารับบริการคลินิคโรคเรื้อรัง
  2. ประเมินผลการควบคุมน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ในวันที่มารับบริการคลินิคโรคเรื้อรัง
  3. การชื่่นชม ยกย่อง ให้เป็นแบบอย่างในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่สามารถควบคุมน้ำตาล  ความดันโลหิตได้ดี
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2567 ถึง 26 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ติดตามพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในวันที่มารับบริการคลินิคโรคเรื้อรัง ทุกคน
  2. ประเมินผลการควบคุมน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ในวันที่มารับบริการคลินิคโรคเรื้อรัง ทุกคน
  3. การชื่่นชม ยกย่อง ให้เป็นแบบอย่างในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่สามารถควบคุมน้ำตาล  ความดันโลหิตได้ดี ทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
2. กลุ่มผู้ป่วยโรคเบหวานควบคุมน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 40
3. กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 50


>