กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลร่มเมือง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเจาะคัดกรองสารเคมีในเลือด 3 ช่วงวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลร่มเมือง

เทศบาลตำบลร่มเมือง (ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข)

ศาลาประจำหมู่บ้านจำนวน 9 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น เทศบาลตำบลร่มเมือง เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สวนยางพารา สวนผลไม้ และปลูกผักสวนครัว ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงขึ้น
จากการลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมการเจาะสารเคมีในเลือด ปีงบประมาณ 2566 ในกลุ่มเกษตรกรในระหว่างวันที่ ๕ กรกฎาคม – ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 392 คน มีผลที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจำนวน 275 คน คิดเป็นร้อยละ 70.15 จากการลงกิจกรรมครั้งที่ผ่านมาผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม อายุ 40 ปีขึ้นไป ทางฝ่ายบริหารงานสาธารณสุขได้เห็นถึงความสำคัญของทุกช่วงวัยที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสารกำจัดศรัตรูพืช จึงได้จัดทำโครงการเจาะคัดกรองสารเคมีในเลือด 3 ช่วงวัย ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 . เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการเจาะคัดกรองสารเคมีในเลือด
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนักถึงความสำคัญจากอันตรายที่เกิดจากสารเคมีในเลือด

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
วัยเรียน วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ จำนวน 500 คน 500

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมชี้แจงและประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมชี้แจงและประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งให้ทราบและแต่งตั้งคณะทำงาน
  2. ติดต่อประสานงานและประชาสัมพันธ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบและเข้าใจขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ดำเนินกิจกรรมและสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
2.ดำเนินกิจกรรมและสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ดำเนินการตามกิจกรรมโครงการเจาะคัดกรองสารเคมีในเลือด 3 ช่วงวัย
  2. รายงานผลการตรวจสารเคมีในเลือดพร้อมคำแนะนำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบ
  3. สรุปและรายงานผลการดำเนิน งบประมาณ
    1. ค่าป้ายโครงการเป็นเงิน 500 บาท
    2. ค่ากระดาษทดสอบสารเคมีในเลือด 1 กล่อง/100 เทส ( 5 กล่อง x กล่องละ 1,000 บาท) เป็นเงิน5,000บาท
    3. ค่า HCT TUBE 1 กล่อง/100 TUBE( 5 กล่อง x กล่องละ 150 บาท) เป็นเงิน750บาท
    4. ค่าเข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว 1 กล่อง/200 ชิ้น ( 3 กล่อง x กล่องละ 900 บาท) เป็นเงิน2,700บาท
      5.ค่าดินน้ำมันอุดหลอดเก็บเลือด( 5 ถาด x ถาดละ 150 บาท) เป็นเงิน750 บาท 6.ค่าสำลีก้อน ตรารถพยาบาล ขนาด 450 กรัม( 2 ถุง x ถุงละ 200 บาท) เป็นเงิน400บาท 7.ค่าแอลกอฮอล์( 3 ขวด x ขวดละ 100 บาท) เป็นเงิน300บาท 8.ค่าถุงมือเบอร์ S ( 2 กล่อง x กล่องละ 200 บาท) เป็นเงิน400บาท
      9.ค่าเอกสารคำแนะนำ( 500 คน x 50 บาท)เป็นเงิน25,000บาท
    5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( 500 คน x 25 บาท x 1 มื้อ )เป็นเงิน12,500บาท
    6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน350 บาท รวมงบประมาณโครงการเป็นเงิน 48,650 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนักถึงพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคที่เกิดจากสารกำจัดศรัตรูพืชได้
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคที่เกิดจากสารกำจัดศรัตรูพืชได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการเจาะคัดกรองสารเคมีในเลือดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80


>