กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยในเกษตรกร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1. นายเอนกกลิ่นรส
2. นางสาวณัฐณิชาสมจิตร
3. นางสาวเบญจมาศเกื้อสุข
4. นางกิตติยาพรหมปาน

หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

15.00
2 จำนวนของเกษตรกร(คน)ที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

53.00
3 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

35.00

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมาเช่นโรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อโรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ ๘๐ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำไร่อ้อย ทำไร่ข้าวโพด ทำสวน ปลูกพืชผักผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงอยู่
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกร ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการสำรวจความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

15.00 50.00
2 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

35.00 0.00
3 เพื่อลดปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

53.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/01/2024

กำหนดเสร็จ 26/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงให้มีความรู้และมีทักษะในการเฝ้าระระวัง การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ชื่อกิจกรรม
อบรมเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงให้มีความรู้และมีทักษะในการเฝ้าระระวัง การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 9 ชั่วโมงๆละ 600 บาท (3 หมู่บ้านๆละ 3 ชั่วโมง) เป็นเงิน 5,400 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม จำนวน 150 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2567 ถึง 26 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง  การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9150.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่ากระดาษทดสอบหาปริมาณโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 3 ชุดๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. เข็มเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด จำนวน 4 กล่องๆละ 50 ชิ้น ราคากล่องละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2567 ถึง 22 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองหารสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4600.00

กิจกรรมที่ 3 จัดบริการลดสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดกลุ่มเสี่ยงฯโดยใช้สมุนไพรรางจืด

ชื่อกิจกรรม
จัดบริการลดสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดกลุ่มเสี่ยงฯโดยใช้สมุนไพรรางจืด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดบริการลดสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดกลุ่มเสี่ยงฯโดยใช้สมุนไพรรางจืด

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2567 ถึง 8 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดได้รับบริการลดสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดโดยใช้สมุนไพรรางจืด ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดกลุ่มเสี่ยงฯ หลังจากใช้รางจืด
  2. สร้างพื้นที่เกษตรปลอดภัยบริเวณบ้านของครอบครัวที่สนใจ
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2567 ถึง 15 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงฯได้รับการตรวจคัดกรองซ้ำเพื่อประเมินผลหลังจากการใช้รางจืดทุกคน
  2. สร้างพื้นที่เกษตรปลอดภัยบริเวณบ้านของครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 50
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเกษตรกรทุกคนมีความรู้ มีทักษะ ในการเฝ้าระวังตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2. กลุ่มเสี่ยงฯ ที่ผ่านการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดในรายที่มีความเสี่ยงได้รับการรางจืดทุกคน


>