กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วและป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวัง โรคติดต่อแบบบูรณาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1. นายเอนกกลิ่นรส
2. นางสาวณัฐณิชาสมจิตร
3. นางสาวเบญจมาศเกื้อสุข
4. นางกิตติยาพรหมปาน

หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

0.07
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงจากโรควัณโรค

 

20.92
3 ร้อยละเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด

 

0.38

งานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค มีความสำคัญต่อระบบการป้องกันควบคุมโรคของประเทศ เขตจังหวัดและตำบล โดยทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เป็นทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วประจำหน่วยงานสาธารณสุขที่มีพื้นที่รับผิดชอบในด้านการป้องกัน ควบคุมโรคซึ่่งในด้านสมรรถนะบุคลากรเคยมีคำกล่าวว่า “เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนต้องใช้ระบาดวิทยาในการปฏิบัติงาน” แต่ในด้านสมรรถนะขององค์กร อาจกล่าวได้ว่า “หน่วยงานที่มีหน้าที่ป้องกันควบคุมโรคและภัยทุกหน่วยงาน ต้องมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team หรือSRRT)” เนื่องจาก ปัญหาภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health emergency) ที่มากขึ้นทั้งในด้านความถี่ ขนาด และความรุนแรง รวมถึงขีดความสามารถในการแพร่กระจายปัญหาไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทุกพื้นที่จึงจำเป็นต้องมีทีมงานรับผิดชอบในการเฝ้าระวังปัญหา และสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ได้แก่ หน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยหากพื้นที่ใดที่มีทีม SRRT ไม่เข้มแข็งจะเป็นจุดอ่อนของการป้องกันควบคุมโรคและอาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้โรคทวีความรุนแรงขึ้นได้ ในปี 2565 ศูนย์ระบาดวิทยาได้ให้ความสำคัญในการทำงานด้านระบาดวิทยาและ SRRT มีการสนับสนุนและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการประเมินผลการทำงานใน ปีงบประมาณ 2566 พบว่ามีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานภาพรวมของอำเภอหลายที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน SRRTอีกทั้ง จากข้อมูลโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาทั้งระดับประเทศเขต จังหวัด อำเภอตำบล พบว่าในปี 2566 มีโรคที่ก่อให้เกิดความรุนแรงหลายโรค อาจส่งผลไปถึงปี 2567 เพราะเชื้อโรคมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะกลุ่ม โรคอุบัติใหม่/ซ้ำ อีกทั้ง ยังมีโรคประจำถิ่น เช่น ไข้เลือดออกวัณโรคโควิด 19เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งสภาพปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบทำให้เกิดภัยคุกคามสุขภาพประชาชน สังคม เศรษฐกิจโดยรวม และอาจจะทวีความรุนแรงขึ้นจากปัญหาการพบโรคที่รุนแรงและซับซ้อน ตลอดจนมีแนวโน้มที่บางปัญหาจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่นปัญหาโรคไข้เลือดออกโควิด - 19 ไข้สมองอักเสบ ชิกุนกุนยา ซิก้า อหิวาตกโรค และโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ จึงมีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อมทุกด้าน ทั้งระบบเฝ้าระวัง การซักซ้อมแผน พัฒนาศักยภาพของบุคลากรผู้รับผิดชอบ เพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการเฝ้าระวัง ระบบข่าวกรอง การสอบสวนโรค ให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐานและมีคุณภาพ รวมทั้งมีการศึกษาวิจัยเพื่อหาองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อลดอัตราป่วย อัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อต่าง ๆ มีทีมงานการเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในลักษณะภาคีที่ชัดเจนมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด

การแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(ร้อยละ)

0.38 0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

0.07 0.00
3 เพื่อแก้ปัญหาความเสี่ยงของประชาชนที่มีจากโรควัณโรค

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรควัณโรค

20.92 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 52
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,629
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/12/2023

กำหนดเสร็จ 26/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วัสดุอุปกกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
วัสดุอุปกกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าถ่ายเอกสารประกอบกิจกรรมคัดกรองโรควัณโรค จำนวน 895 ชุดๆละ2 บาท เป็นเงิน 1,790 บาท
  2. หน้าการอนามัยในการป้องกัน ควบคุมวัณโรค และระบบทางเดินหายใจสำหรับการปฏิบัติงานในหน่วยบริการ จำนวน 50 กล่องๆละ 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 ธันวาคม 2566 ถึง 26 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หน่วยบริการสาธารณสุข มีวัสดุ อุปกรณ์ พร้อมตอบโต้เหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุขในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5790.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (การป้องกัน ควบคุม โรคไข้เลือดออก วัณโรค โรคมือเท้าปาก)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (การป้องกัน ควบคุม โรคไข้เลือดออก วัณโรค โรคมือเท้าปาก)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม จำนวน 60 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ธันวาคม 2566 ถึง 26 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว มีความรู้ ทักษะ ในการป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุมโรค ติดต่อ ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสำรวจและส่งรายงานลูกน้ำยุงลายทุกสิ้นเดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ธันวาคม 2566 ถึง 19 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ค่า HI < 10
  2. ค่า CI = 0
  3. ไม่มีการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประเมินผลค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย 2. ประเมินผลการป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก 3. ประเมินผลอัตราการตรวจคัดกรองวัณโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 ธันวาคม 2566 ถึง 26 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ โรคไข้เลือดออก  โรคมือเท้าปาก  โรควํัณโรค ลดลงเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,390.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>