กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดพุง หุ่นดี ด้วย DPAC

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1. นางหนูอั้นไข่ทอง
2. นายอุทิศคงทอง
3. นางศรีอมรฉิ้มสังข์
4. นางปรีดาเทพชนะ
5. นางอวยพรคงหมุน

หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

50.00
2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

25.00

พฤติกรรมและวิถีชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาวะของมนุษย์พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยของบุคคลนั้นๆจากสถานการณ์ของคนไทยในปัจจุบันพบว่าโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้นๆ ปัจจุบันคนไทยมีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นจากพฤติกรรมบริโภคที่ไม่เหมาะสม โดยหันมาบริโภคอาหารรสหวานมันเค็ม และอาหารแปรรูปมากขึ้น รับประทานผักผลไม้น้อยลงและขาดการออกกำลังกายในปี2565ผลการสำรวจภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนอายุ15ปีขึ้นไปทั่วประเทศของกรมอนามัยพบว่าเพศชายมีรอบเอวเกิน90เซนติเมตรร้อยละ34และเพศหญิงมีรอบเอวเกิน80เซนติเมตรร้อยละ58
จากผลการคัดกรองสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงของ รพ.สต.บ้านทุ่งยาวระหว่างปี พ.ศ.2560-พ.ศ.2565 จำนวน 1,089 รายพบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนจำนวน 384 รายคิดเป็นร้อยละ 35.26เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 305 รายคิดเป็นร้อยละ 28.01 และเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 39 รายคิดเป็นร้อยละ 3.58และจากผลการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯของรพ.สต. บ้านทุ่งยาว ระหว่างปี พ.ศ.2560 - พ.ศ.2565 ร้อยละ มีการรับรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 35มีการกำกับพฤติกรรมสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23มีการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 34มีค่าดัชนีมวลกายลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ และร้อยละ 67มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากซึ่งการปรับพฤติกรรมสุขภาพต้องใช้เวลานานพอสมควรจึงสำเร็จด้วยความตระหนักถึงความรุนแรงของโรคอ้วนโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดที่คุกคามวิถีชีวิตและสุขภาวะของผู้ประกันตนในสถานประกอบการ ประชาชนในชุมชนและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านทุ่งยาวร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านทุ่งยาว จึงได้ทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดพุงหุ่นดีด้วย DPACโดยได้รับการสนับสนุนเงินงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทั้งนี้ได้นำแนวคิดพฤติกรรมสุขภาพ3 อ 2 สมาใช้เป็นหลักในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมโดยการเพิ่มพลังอำนาจในตนเองให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความมั่นใจในการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพก่อนที่จะเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนรวมทั้งมีแนวทางและเกิดทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองจะช่วยลดการพึ่งพิงการรักษาและค่าใช้จ่ายในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิซึ่งจะเสริมให้ทรัพยากรบุคลเป็นทุนมนุษย์ที่แข็งแรงของหน่วยงานและสังคมและประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

50.00 60.00
2 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

25.00 35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,089
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/01/2024

กำหนดเสร็จ 28/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มกราคม 2567 ถึง 12 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ 2ส ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจเลือดหาค่าน้ำตาลในเลือด

ชื่อกิจกรรม
ตรวจเลือดหาค่าน้ำตาลในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตรวจหาค่าไขมันในเลือด 4 อย่าง จำนวน 50 คนๆละ 220 บาท เป้นเงิน 11,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2567 ถึง 17 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้ากิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้รับการตรวจหารไขมันในเลือด ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามแประเมินผลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามแประเมินผลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้รับการประเมินผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2567 ถึง 17 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้รับการประเมินผล  ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ทางด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น
2. ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ เพิ่มขึ้น
3. คนในชุมชนออกกำลังกายเพิ่มขึ้น


>