กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคระบาดหรือภัยพิบัติ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังประจัน

1.นางอาซีซ๊ะ ละใบโดย 2.นางกอดาน๊ะ เหมสลาหมาด 3.นายนันทวัฒน์ เต๊ะสมัน 4.นางสาวนัฐฌา รูบามา 5.นางสุวรรณี ลิงาลาห์

ตำบลวังประจัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๗ได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมค่าใช้จ่ายตามแผนงานใช้จ่ายตามแผนโครงการหรือกิจกรรมไว้๕ประเภทซึ่งได้ระบุให้ประเภทที่๕ใช้ในกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของอบต.วังประจันด้านการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยสาธารณภัยพิบัติต่าง ๆ และมีโรคที่ควรระวังเป็นพิเศษจำนวน๗โรคได้แก่โรคตาแดงโรคฉี่หนูโรคไข้เลือดออกโรคอุจจาระร่วงโรคมือเท้าปากการเกิดโรคติดต่อในโรงเรียนในช่วงหน้าฝนมักพบโรคมือเท้าปากโดยในปีพ.ศ.๒๕๖๐จังหวัดสตูลพบผู้ป่วยอันดับ๓ในภาคใต้จำนวน๓๕๐รายโรคอหิวาตกโรคฯลฯแนวโน้มการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำอาจจะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เริ่มมีการระบาดในประเทศไทย เมื่อ ปีพ.ศ.2563มีความรุนแรงเทียบเท่ากับโรคซาร์ส ที่เคยระบาดเมื่อปี 2545 ซึ่งติดต่อทางลมหายใจ สารคัดหลั่ง น้ำมูก และน้ำลายเนื่องจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทำให้การแพร่ระบาดของโรคสายพันธุ์ต่าง ๆมีมากขึ้นอบต.วังประจันเป็นพื้นที่หนึ่งที่เคยประสบภัยพิบัติจากภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและผลกระทบจากโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายในเขตตำบลวังประจันด้วยเหตุนี้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังประจันจึงได้ดำเนินโครงการป้องกันและควบคุมโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้างและลดผลกระทบจากการระบาดและภัยพิบัติต่าง ๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคระบาดหรือภัยพิบัติในชุมชน

ความร่วมมือของคนในชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แก้ไขปัญหาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคระบาดหรือภัยพิบัติในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
แก้ไขปัญหาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคระบาดหรือภัยพิบัติในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 1 มื้อๆ ละ 40 คนๆ ละ 60 บาทเป็นเงิน 2,400 บาท

-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อๆ ละ 40 คนๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 2,400 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน 1,500 บาท

-ค่าป้ายไวนิลจำนวน 4 ผืนๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนที่เกิดจากโรคระบาดที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคระบาดหรือภัยพิบัติ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 2 วันๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 40 คนๆ ละ 60 บาทเป็นเงิน 4,800 บาท

-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 2 วันๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 40 คนๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 4,800 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน 2,522.48 บาท

-ค่าป้ายไวนิลจำนวน 5 ผืนๆละ 300 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนที่เกิดจากโรคระบาดที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13622.48

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,122.48 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ลดอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนที่เกิดจากโรคระบาดที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ


>