กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์

1.นายอิมรัน ลูมะ
2.นางสาวศิรดา ศรีของไทย
3.นางสารอ มูหะมะสาเล็ม
4.นางสาวซูไฮมี เจ๊ะมูซอ
5.นางสาวพรทิพย์ ประทุม

ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

30.00
2 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

50.00
3 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ

 

50.00
4 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)

 

40.00
5 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)

 

10.00
6 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)

 

20.00

ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้ดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ตามมาตรา 18 (9) และมาตรา 47 ได้สนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแสวงหากำไร ดำเนินงานและบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่บุคคลในพื้นที่ ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์กรบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ เกิดขึ้นตามแนวทางการดำเนินงานดังกล่าว โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ซึ่งในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 โดยแต่ละกองทุนฯ นำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาจัดทำเป็นระเบียบกองทุนสำหรับใช้ในการบริหารจัดการกองทุนต่อไป ทั้งนี้ นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว ปัจจัยในการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ ยังเกิดขึ้นจากคณะบุคคลอีกหนึ่งคณะตามที่กล่าวข้างต้น นั้นคือ คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ อนุกรรมการฯ กล่าวคือ การที่คณะกรรมาการบริหารกองทุนมีความรู้มีความสามารถเข้าถึง เข้าใจหลักการบริหารจัดการกองทุน ก็จะทำให้กองทุนแห่งนั้นดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ประกอบกับ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติงานให้กับคณะกรรมการบริหารกองทุน ก็ต้องมีเจ้าหน้าที่ดำเนินงานกองทุนฯ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่พร้อมในการสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพไปพร้อมกัน ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น ตามระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ ได้กำหนดให้มีการประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อย่างน้อยปีละสี่ครั้ง โดยได้ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุม และค่าวัสดุต่างๆ จากเงิน 15 % รวมกับ LTC 5% รวมทั้งหมดเป็น 20% ที่กองทุนได้ตั้งไว้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

20.00 80.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

50.00 100.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

40.00 100.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

30.00 80.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

50.00 80.00
6 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

10.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 29

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/09/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค่าอาหารและเครื่องดื่มของคณะกรรมการกองทุน สปสช. และผู้เข้าร่วมประชุมฯ

ชื่อกิจกรรม
ค่าอาหารและเครื่องดื่มของคณะกรรมการกองทุน สปสช. และผู้เข้าร่วมประชุมฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุนอาหารเที่ยงและเครื่องดื่ม หรืออาหาร/เครื่องดื่ม ตามเวลาที่เหมาะสม ให้คณะกรรมการกองทนุ จำนวน 29 คน
รายละเอียดงบประมาณ
มื้อละ 60x29x1=1740

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการกองทุนฯ ได้รับการสนับสนุนด้านอาหารและเครื่องดื่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1740.00

กิจกรรมที่ 2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของคณะกรรมการกองทุน สปสช. และผู้เข้าร่วมประชุมฯ

ชื่อกิจกรรม
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของคณะกรรมการกองทุน สปสช. และผู้เข้าร่วมประชุมฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุนอาหารว่างและเครื่องดื่ม ให้คณะกรรมการกองทุน เมื่อมีกำหนดการประชุมฯ ของกองทุนฯ จำนวน 29 คน
รายละเอียดงบประมาณ
มื้อละ 35x คนละ 4 ครั้ง x จำนวน 29 คน = 4060

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการกองทุนฯ ได้รับการสนับสนุนอาหารว่างและเครื่องดื่ม เมื่อมีการจัดประชุมในแต่ละครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4060.00

กิจกรรมที่ 3 ค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุน สปสช.

ชื่อกิจกรรม
ค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุน สปสช.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะกรรมการกองทุน สปสช. มีจำนวนทั้งหมด 19 คน และตามระเบียบค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุน จะได้ คนละ 400 บาท/คน/ครั้งที่ประชุม
รายละเอียดงบประมาณ
400x19x4 = 30400

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการกองทุน สปสช. ได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบ สปสช.ครบถ้วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30400.00

กิจกรรมที่ 4 ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการกองทุน LTC

ชื่อกิจกรรม
ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการกองทุน LTC
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะกรรมการกองทุน สปสช. มีจำนวนทั้งหมด 10 คน และตามระเบียบค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุน จะได้ คนละ 300 บาท/คน/ครั้งที่ประชุม รายละเอียดงบประมาณ
300x10x4 = 12000

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะอนุกรรมการกองทุน LTC. ได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบ สปสช.ครบถ้วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 5 ค่าเดินทางไปราชการของคณะกรรมการกองทุน สปสช. และกองทุน LTC

ชื่อกิจกรรม
ค่าเดินทางไปราชการของคณะกรรมการกองทุน สปสช. และกองทุน LTC
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุนคณะกรรมการกองทุน สปสช. และ กองทุน LTC มีจำนวนทั้งหมด 29 คน เดินทางไปราชการตามระเบียบของสปสช.
รายละเอียดงบประมาณ (แล้วแต่ค่าใช้จ่ายของการเข้าร่วมอบรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการการกองทุนฯ ได้รับการสนับสนุนค่าเดินทางไปราชการ และได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 6 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของคณะกรรมการกองทุน LTC และผู้เข้าร่วมประชุมฯ

ชื่อกิจกรรม
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของคณะกรรมการกองทุน LTC และผู้เข้าร่วมประชุมฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุนอาหารว่างและเครื่องดื่ม ให้คณะกรรมการกองทุน เมื่อมีกำหนดการประชุมฯ ของกองทุนฯ จำนวน 14 คน
รายละเอียดงบประมาณ
มื้อละ 35x คนละ 4 ครั้ง x จำนวน 14 คน = 1960

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการกองทุนฯ LTC ได้รับการสนับสนุนอาหารว่างและเครื่องดื่ม เมื่อมีการจัดประชุมในแต่ละครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1960.00

กิจกรรมที่ 7 ค่าจัดซื้อ และบำรุงวัสดุ อุปกรณ์ของกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
ค่าจัดซื้อ และบำรุงวัสดุ อุปกรณ์ของกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าบำรุง ซ่อมแซม และจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการบริหารงานกองทุน
รายละเอียดงบประมาณ
10000

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การบริหารจัดการกองทุน เป็นไปด้วยความสะดวก และรวดเร็วในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 8 ค่าหมึกเครื่องพิมพ์เอกสารของกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
ค่าหมึกเครื่องพิมพ์เอกสารของกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อหมึกเครื่องพิมพ์เอกสารของกองทุนฯ ยี่ห้อ Canon รุ่น G4010 จำนวน 1 เครื่อง
รายละเอียดงบประมาณ
หมึกสีดำ 790 บาท
หมึกสีแดง 790 บาท
หมึกสีน้ำเงิน 790 บาท และ
หมึกสีเหลือง 790 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนฯ ด้านเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 9 งบการจัดโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
งบการจัดโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณในส่วนนี้ เอาไว้จัดโครงการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนฯ อาทิเช่น โครงการพัฒนาศักยภาพของผู้ขอรับงบประมาณสนับสนุนโครงการ หรือ โครงการเสริมทักษะผู้ขอรับงบประมาณสนับสนุนในด้านการสรุปโครงการและปิดโครงการ เป็นต้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พัฒนาศักยภาพ และเสริมทักษะในการบริหารจัดการกองทุน เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25852.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 123,012.00 บาท

หมายเหตุ :
การดำเนินงานกิจกรรมตามข้างต้น สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ สามารถที่จะดำเนินการบริหารจัดการกองทุนฯ ที่ดี ตลอดจนการพิจารณาโครงการต่างๆ ได้ตามกำหนดเวลา จนมีผลทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
2. มีการประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาและติดตามงานอย่างน้อย 4 ครั้ง เพื่อโครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์
3. มีการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกองทุนร่วมกับทีมพี่เลี้ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>