กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

ศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแส

1.นางวรรณะ รัตนพันธ์
2.นางนราวรรณ ช่วยชีพ
3.นส.พีระดี ดำสีใหม่
4.นส.ธิตติยา เพ็ชรัตน์
5.นส.สุดารัตน์ ปัญจะสุวรรณ์

เขตพื้นที่ตำบลเชิงแส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อวิถีชีวิตและพฤติกรรม การบริโภคที่ไม่เหมาะสม ทำให้จำนวนผู้ป่วยเรื้อรังมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงถือว่าเป็นภัยเงียบ โดยผลกระทบของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนส่งผลให้เกิดความทุพพลภาพและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ตลอดจนการนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น จอประสาทตาเสื่อม โรคไตเรื้อรังโรคหัวใจและหลอดเลือด บาดแผลเรื้อรัง การตัดแขนขา เป็นต้น โรคเหล่านี้ทั้งยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่ารักษาพยาบาล

จากผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปของศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแส โรงพยาบาลกระแสสินธุ์ ตัั้งแต่ 1ตุลาคม 2565-31 มีนาคม 2566 พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 111 ราย กลุ่มเสี่่ยงด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 314 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.55 และ 30.91ตามลำดับ สงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 41 รายคิดเป็นร้อยละ 5.37 และสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน 29 รายคิดเป็นร้อยละ 2.85 พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 43 ราย และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน16 ราย ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแส โรงพยาบาลกระแสสินธุ์ตระหนักถึงภาวะสุขภาพประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรคเรื้อรังในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสมตามหลัก3อ.2ส.

ร้อยละ 80 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสมตามหลัก3อ.2ส.

80.00
2 เพื่อให้กลุุ่มสงสัยป่วยและกลุ่มป่วยได้รับการดูแลรักษาและได้รับการส่งต่อ

ร้อยละ 100 กลุุ่มสงสัยป่วยและกลุ่มป่วยได้รับการดูแลรักษาและได้รับการส่งต่อ

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ทำแบบประเมินความรู้ก่อนการอบรม
2.อบรมให้ความรู้ทั่วไปเกียวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน การดูแลตนเอง ความตระหนักเกี่ยวกับโรคตามหลัก 3อ.2ส.
3.ให้ความรู้การจัดการความเครียด
4.สอนและสาธิตการออกกำลังกาย
5.ทำแบบประเมินความรุ้หลังการอบรม
กลุ่มเป้าหมาย
1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงและสงสัยป่วย จำนวน 50 คน
2.คณะทำงาน จำนวน 5 คน
งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 55 คนX50บาทX1มื้อ เป็นเงิน 2,750 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 55 คนX25บาทx1มื้อเป็นเงิน 1,375 บาท
รวมเงิน 4,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่หมาะสมโดยใช้หลัก 3 อ.2ส.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4125.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจติดตามกลุ่มเสี่ยงพร้อมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจติดตามกลุ่มเสี่ยงพร้อมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประเมินสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย
-ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและวัดรอบเอว
- คำนวณค่าดัชนีมวลกาย
-ตรวจวัดความดันโลหิต
-เจาะเลือดปลายนิ้ว(งดอาหารก่อนมาตรวจ)
-ให้คำปรึกษาและแนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุุ่มสงสัยป่วยและกลุ่มป่วยได้รับการดูแลรักษาและได้รับการส่งต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,125.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมโดยใช้หลัก 3อ.2ส.
2.อัตราการเกิดโรคเรื้อรังลดลง


>