กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

รพ.สต.แหลมโตนด

ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

42.21

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และความเจริญทางเทคโนโลยี มีผลทําให้ สุขภาพประชาชนป่วยหรือตายด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้พฤติกรรมการดํารงชีวิตที่อาจทําให้เกิด ความเครียด ภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก ( กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข : พ.ศ. 2564 ) มีผู้ป่วยจํานวน 463 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวานจํานวน 629 ล้านคน สําหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์ โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปี และมีผู้ป่วย โรคเบาหวานอยู่ในระบบทะเบียน 3.2 ล้านคน ของกระทรวงสาธารณสุข ก่อให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการ รักษาด้านสาธารณสุขอย่างมหาศาล เฉพาะเบาหวานเพียงโรคเดียวทําให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี และหากรวมอีก 3 โรค คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ทําให้ ภาครัฐสูญเสียงบประมาณในการรักษารวมกันสูงถึง 302,367 ล้านบาทต่อปี โรคเบาหวานยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ในกลุ่มโรค NCDs อีกมากมาย อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง และ โรคไต ฯลฯ
จากการคัดกรองโรคเบาหวานในปีงบประมาณ 2566 พบว่า ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,796 คน ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน 1,797 คน คิดเป็นร้อยละ 97.93 โดยพบว่าจำนวนประชากรที่มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรองอยู่ในกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 61 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.39 เพื่อเป็นการคัดกรองค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่ยได้รับการวินิจฉัยรักษาได้อย่างรวดเร็วและทำการควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดโรครายใหม่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองและควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน ปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

42.21 30.00
2 เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่

คัดกรองกลุ่มเสี่ยง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

90.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง

กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมถูกต้อง ร้อยละ 80

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,796
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค้นหากลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่

ชื่อกิจกรรม
ค้นหากลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรอง ประชากรกลุ่ม 15-30 ปี และ 30 ปี ขึ้นไป ด้วยแบบฟอร์มคัดกรองความเสี่ยงฯ และตรวจน้ำตาลในเลือด โดยการเจาะปลายนิ้ว ในกุล่มเสี่ยง 15-30 ปี และ 30 ปีขึ้นไป 1.ค่าถ่ายเอกสาร แบบฟอร์มคัดกรอง จำนวน 1,600 ชุดๆละ 2 แผ่นๆละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 1,600 บาท 2.ค่าเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,650 บาท 3.ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือด พร้อมเข็มเจาะปลายนิ้ว จำนวน 16 ชุดๆละ 960 บาท เป็นเงิน15,360 บาท 4.สำลีก้อนชุบแอลกอฮอล์สำเร็จรูป แผงละ 8 ก้อน กล่องละ 100 แผง จำนวน 2 กล่อง ๆละ 1,350 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรอง  โรคเบาหวานและไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22310.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,310.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผิดปกติได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
2. ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
3. ลดการเกิดโรครายใหม่


>