กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสกัดกั้นนักดื่มรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดการถึงแหล่งจำหน่าย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มดื่ม) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตนเพื่อฝึกความสามารถในการควบคุมตนเอง/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ/การตัดสินใจ/การปฏิเสธ/การจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
5. ขอความร่วมมือร้านค้าชุมชนไม่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี และห้ามขายตามเวลาที่กฎหมายกำหนด
stars
แนวทางดำเนินงาน : 2. เพื่อจัดบริการช่วยเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มที่ดื่มแบบเสี่ยง/แบบอันตรายและแบบติดสุราเรื้อรัง
label_important
วิธีการสำคัญ
เกณฑ์การวินิจฉัยการติดสุรา
• ต้องเพิ่มปริมาณการดื่มมากขึ้น
• มีอาการทางร่างกายเมื่อไม่ได้ดื่ม
• ควบคุมการดื่มไม่ได้
• หมกมุ่นอยู่กับกับการดื่ม
• พยายามเลิกหลายครั้งแล้ว แต่เลิกไม่สำเร็จ
• มีความบกพร่องในหน้าที่ทางสังคม/การงาน
• ยังคงดื่มอยู่ทั้งๆ ที่มีผลเสียเกิดขึ้นแล้ว

วิธีการ

1. เน้นการค้นหาและวินิจฉัยผู้มีปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะการดื่มแบบเสี่ยงและแบบอันตราย) ร่วมกับการทำฐานข้อมูล ของผู้ดื่มในชุมชนที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
2. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน เช่น Mobile Clinic และการบำบัดแบบสั้น ที่เน้นการดูแลให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ดื่มแอลกอฮอล์
3. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงาน โดยสามารถใช้เครื่องมือในการคัดกรองชนิดต่างๆ การติดตามเยี่ยมเยียนผู้มารับบริการในกลุ่มที่ดื่มแบบเสี่ยง/แบบอันตราย/แบบติด
4. การจัดบริการส่งต่อผู้ดื่ม ที่มีอาการทางจิตประสาทและไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ หรือผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยานานในขณะถอนพิษสุรา โดยเน้นการรักษาระยะยาวสำหรับผู้ที่ติดสุราเพื่อไม่ให้กลับไปใช้สุราอีก
stars
แนวทางดำเนินงาน : พัฒนาทางเลือกในการช่วยลด ละหรือเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามบริบทชุมชน เช่น หมู่บ้านรักษาศีลห้า
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การรวมกลุ่มของผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน ในการพัฒนาทางเลือกเพื่อช่วยเลิกที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. พัฒนาทีมงานจิตอาสาในการค้นหาผู้ดื่มที่สร้างปัญหาและทำให้เกิดผลกระทบในชุมชน
3. การออกแบบโปรแกรมที่ดำเนินการโดยชุมชน เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มของบุคคล
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสร้างและพัฒนามาตรการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ทั้งผู้บริโภคและผู้ขาย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. มีคณะกรรมการชุมชน ที่ทำหน้าที่กำหนด/ประกาศ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มในชุมชน เข่น งดดื่มในงานบุญ งานวัด งานแต่ง งานประเพณี และเทศกาลรื่นเริง
2. การประกาศและการบังคับใช้ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมทั้งการบริโภคและการจำหน่ายในชุมชน เช่น การไม่ขายให้เด็กและเยาวชน และขายตามช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
3. มีกรรมการชุมชนทำหน้าที่ติดตามประเมินผล การปฏิบัติตามมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
4. กำหนดมาตรการชุมชนโดยการไม่รับการอุปถัมภ์กิจกรรมด้านกีฬาหรือด้านศิลปวัฒนธรรมที่มาจากอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. ให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาต หรือสั่งปิดร้านจำหน่ายสุราที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
6. สนับสนุนให้ดื่มและจำหน่ายเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ (nonalcoholic cocktail) ในทุกกิจกรรมของชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อลดความรุนแรงจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เช่น การเกิดอุบัติเหตุจราจร การทะเลาะวิวาท การทำร้ายร่างกาย)
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำกับควบคุมโดยคณะกรรมการชุมชน เช่น มาตรการในการป้องกันปัญหาจากการขับรถขณะเมาสุรา (กฎการดื่มไม่ขับ) การมีจุดสุ่มตรวจแอลกอฮอล์ในชุมชน การติดตามประเมินความเรียบร้อยในชุมชนจากเหตุทะเลาะวิวาท หรือ การทำร้ายร่างกายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. การสร้างเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อน หรือ สายด่วนชุมชน กรณีเกิดการก่อเหตุความรุนแรงในครัวเรือนที่มาจากการดื่มสุรา
3. การจัดกองทุนหมู่บ้านเพื่อการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยผู้ก่อความเสียหายมีส่วนร่วมในการจ่ายค่าชดใช้ (การลงโทษทางสังคม)
4. กำหนดมาตรการ การเพิกถอนหรือระงับใบขับขี่ การปรับ การให้ทำงานรับใช้ชุมชนเมื่อดื่มแล้วขับ ถ้าระดับแอลกอฮอล์เกินกำหนด เช่น หากผู้ขับขี่ที่อายุไม่ถึง 20 ปีถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา
stars
แนวทางดำเนินงาน : แก้ปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยง เพศสัมพันธ์
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ให้ความรู้ด้านเพศศึกษาและทักษะชีวิต แก่กลุ่มเด็กเยาวชน ผู้ปกครองและกลุ่มที่มีความเสี่ยง
2. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน สร้างแกนนำ/เครือข่าย
3. สร้างพื้นที่ทำกิจกรรมด้านสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมศิลปะ กีฬา เป็นต้น
4. การทำสื่อ ประชาสัมพันธ์
5. คลินิคแก้ปัญหาครอบครัว ช่วยให้แนวทางดำเนินชีวิต, กลไกการให้คำปรึกษา
6. ส่งเสริมการใช้หลักศาสนา ในการดำเนิชีวิต
stars
แนวทางดำเนินงาน : แก้ปัญหาเยาวชนที่มีเสี่ยงต่อการเป็นนักสูบหน้าใหม่ และมีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสูบ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
5. การค้นหาและทำฐานข้อมูลของผู้สูบในชุมชนที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
6. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน
7. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงานด้านการติดตามเยี่ยมเยียนผู้มารับบริการเลิกยาสูบให้สามารถเลิกได้สำเร็จ
8. การจัดบริการส่งต่อผู้สูบที่ไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพจากโรคหวัด
2. แกนนำอาสาสมัครด้านรู้เท่าทัน อ่านฉลากยาเป็น
3. การใช้สมุนไพรทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)
4. ร้านชำสีขาว คุ้มครองผู้บริโภค
stars
แนวทางดำเนินงาน : ส่งเสริมให้เยาวชนชายมุสลิมขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์
label_important
วิธีการสำคัญ
การจัดบริการขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การตรวจดูสารพิษตกค้างในกระแสเลือด
2. การแนะนำวิธีป้องกันสารเคมีทางการเกษตรและการใช้สารจากธรรมชาติทดแทนสารเคมี
3. การตั้งและดำเนินกิจกรรมกลุ่มเกษตรกรผักปลอดสารพิษ
4. การตรวจเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผัก โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข/ชมรม อย.น้อย
5. ประกาศหมู่บ้านปลอดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
6. การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถลดหรือเลี่ยงผักที่มีสารเคมีตกค้างทางการเกษตร
7. การปลูกผักปลอดสารพิษในเขตที่อยู่อาศัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนัก
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับพฤติกรรม ที่เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน การปรับพฤติกรรม รวมทั้งการส่งต่อไปยังสถานบำบัด
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดความรุนแรงและลดผลกระทบของการแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างและพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายการเฝ้าระวัง ให้มีองค์ความรู้และมีทักษะในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน
2. มีคณะทำงานติดตามประเมินความรุนแรงของสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน ที่มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกพื้นที่
3. มีแผนการดำเนินงานการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
4. การให้รางวัลเชิดชูเกียรติแก่บุคคลต้นแบบในชุมชนที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
5. การตั้งรางวัลสำหรับผู้ที่ชี้เบาะแสของผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในชุมชน
6. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่สามารถนำมาใช้เพื่อการวางแผนควบคุมต่อไป
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติดและลดอัตราการเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาเครือข่ายชุมชนที่เฝ้าระวังและสอดส่องปัญหายาเสพติดในชุมชนให้เชื่อมต่อกับหน่วยบริการสุขภาพภาครัฐให้สามารถส่งต่อผู้ติดยาไปบำบัดรักษาได้อย่างทั่วถึง
2. การสร้างระบบรองรับต่อผู้ที่ผ่านการบำบัดจากสถานบำบัดเมื่อกลับมาอยู่ในชุมชน ให้ได้รับการฝึกอาชีพ การสร้างการยอมรับในการจ้างงาน และให้โอกาสในการกลับมาเป็นสมาชิกของชุมชน
3. การพัฒนาระบบการดูแลผู้การบำบัดโดยการบูรณาการวิถีชุมชน ที่ทำให้ผู้ผ่านการบำบัดไม่กลับไปเสพยาซ้ำ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างมาตรการทางสังคมเพื่อควบคุมปัญหายาเสพติดในระดับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้าน เช่น การมีฮูกมปากัตในชุมชนมุสลิมที่มีบทให้คุณให้โทษต่อครอบครัวที่มีสมาชิกไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2. มีคณะทำงานประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว และมีการประชุมสมาชิกในชุมชนชี้แจงผลการตอบสนองต่อมาตรการ
3. มีระบบบันทึกการทำความผิด การตักเตือน การทำโทษขั้นต่างๆ ตามมาตรการที่กำหนด
4. มีรายงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จำนวนและร้อยละของครัวเรือนที่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
2. การใช้ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพ การบริโภคที่ถูกต้อง
2. การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังเบาหวาน จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย แผล เป็นต้น
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางกายลดโรคเรื้อรัง เช่น การออกกำลังกาย การใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
2. กิจกรรมตลาดอาหารปลอดภัย
3. โรงเรียนหรือศูนย์พฒนาเด็กเล็กปลอดหวาน หรือขนบกรุบกรอบ
4. หมู่บ้านปลอดน้ำหวาน น้ำอัดลม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างระบบกลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
การสร้างแกนนำต้นแบบด้านเสร้างเสริมสุขภาพ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างกติกาหรือนโยบายสาธารณะชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำหนดกติกาชุมชน หรือหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. จำนวนโครงการและงบประมาณที่กองทุนสุขภาพตำบล
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 1 มุ่งเป้าลดการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสของผู้ใช้รถใช้ถนน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ลดพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกกลุ่ม (เมา หมวกนิรภัย เข็มขัดนิรภัย เบาะนิรภัยเด็ก มือถือ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น ไม่มีใบขับขี่ ขับเร็ว หลับใน) ด้วยการเพิ่มจำนวนด่าน และให้ความรู้
1.1 เพิ่มการตรวจจับหรือจุดตั้งด่านตรวจจับผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน (เช่น ดื่มแล้วขับ ใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่ใช้เบาะนิรภัยสาหรับเด็กและที่นั่งพิเศษสาหรับเด็ก ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ขับเร็ว หลับใน)
1.2 กำกับดูแลผู้ขับขี่รถสาธารณะให้มีความพร้อมทางสภาพร่างกายก่อนและระหว่างการขับขี่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของยานพาหนะ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จักรยานยนต์ปลอดภัย ด้วยการติดตั้ง ABS ตรวจสอบมาตรฐานหมวกนิรภัย และให้ความรู้การใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
1.1 ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับมาตรฐานรถจักรยานยนต์ รวมถึงการเลือกซื้อและการใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและการเดินทางที่ยั่งยืน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ถนนปลอดภัย
1.1 เพิ่มมาตรการชะลอความเร็วในพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 ตรวจประเมินถนน ดำเนินมาตรการเชิงแก้ไข (Road side hazard) โดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพในจุดที่เคยเกิดอุบัติเหตุซึ่งเป็นพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. เพิ่มการเดินทางที่ยั่งยืน
2.1 ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนารากฐานโครงสร้างการทำงาน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาการตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพและครอบคลุม
1.1 เพิ่มความครอบคลุมของการทำประกันภัยภาคบังคับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
1.2 ลดเวลาตอบสนองหลังเกิดเหตุ (response time) ด้วยเบอร์ฉุกเฉิน
1.3 เพิ่มความครอบคลุมของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลในทุกตำบล
1.4 กำหนดแนวปฏิบัติที่ดีในสถานการณ์ฉุกเฉินทางถนนสำหรับผู้ขับรถสาธารณะ
2. เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนนแบบสหสาขา
2.1 มีการจัดประชุม ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศปถ.อปท.) ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน ไตรมาสละ 1 ครั้ง
2.2 มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางถนน