กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหรัง

โรงเรียนบ้านต้นปริง

ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
จากผลการตรวจสภาวะช่องปากนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนบ้านต้นปริงในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 พบว่านักเรียนมีฟันผุในระดับปฐมวัย ร้อยละ 43.75 และในระดับประถมศึกษาที่นักเรียนมีฟันแท้นผุคิดเป็นร้อยละ5.45 เมื่อมีการตรวจประสิทธิภาพการแปรงฟัน พบว่า นักเรียนแปรงฟันสะอาด ร้อยละ 80 ซึ่งจัดว่าเป็นปัญหาที่ทางทันตสุขภาพ ช่องปากเป็นประตูสำคัญของสุขภาพ สุขภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต ถ้าบุคคลมีสุขภาพดี จะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่วัยเด็ก การเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กวัยประถมศึกษา สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการประถมศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำประโยชน์ให้สังคม ตามบทบาทและหน้าที่ของตน โดยผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจสามารถครองชีวิตอย่างเป็นสุข
ด้วยเหตุนี้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชน จึงกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญ ที่จะใช้ในการรณรงค์และกระตุ้นความสนใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2567 โรงเรียนบ้านต้นปริง จึงจัดกิจกรรม “ฟันสวยยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพ” ขึ้น โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพทั้งที่เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตร และกิจกรรมที่จัดขึ้นเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับลักษณะปัญหาหรือศักยภาพเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ตามความเหมาะสมกับความจำเป็นและความต้องการของแต่ละพื้นที่ เพื่อทันตสุขภาพและสุขภาพโดยรวมที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง มีความรู้ด้านทันต สุขภาพที่ถูกต้อง สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

1.นักเรียน มีความรู้ด้านทันตสุขภาพร้อยละ 80 นักเรียน สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

0.00
2 2. ส่งเสริมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเที่ยง และก่อนนอน
  1. นักเรียน ร้อยละ 80 ส่งเสริมการแปรงฟันหลังรับประทาน อาหารเที่ยงและก่อนนอน
0.00
3 3. นักเรียนมีสภาวะสุขภาพปากช่องปากดีที่ขึ้น
  1. นักเรียน ร้อยละ 80 นักเรียนมีสภาวะสุขภาพปากช่อง ปากดีที่ขึ้น
0.00
4 4. นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาดภายในช่องปาก และฟัน
  1. นักเรียน ร้อยละ 80 นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ภายในช่องปากและฟัน
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 57
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ “ Walk Rally”

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ “ Walk Rally”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 300 บ. x 2 คน = 600 บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มนักเรียน 25 บ. x 57 คน  = 1,425 บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ปกครอง 25 บ. x 40 คน = 1,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ “ Walk Rally”
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3025.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอน “ฟันดีสุขภาพดี ”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอน “ฟันดีสุขภาพดี ”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ใช้งบประมาณของโรงเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการแปรงฟัน

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการแปรงฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุแปรงสีฟัน 25 บ. x 57 ชิ้น เป็นเงิน 1,425 บาท 2 ภาคเรียน = 2,850 บ.
  • ค่าวัสดุยาสีฟันในวันอบรม จำนวน 3 หลอด ๆ ละ 100 บาท = 300 บ.
  • ค่าถ่ายเอกสารบันทึกการแปรงฟันก่อน นอน 30 บ. x 57 เล่ม เป็นเงิน 1,710 บ.
  • เจลย้อมสีฟัน,ก้านสำลี เป็นเงิน 500 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5360.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,385.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน มีความรู้ด้านทันตสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
2. นักเรียน มีทัศนคติที่ดีในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก
3. นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาดภายในช่องปากและฟัน


>