กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารเสริมโปรตีน เพื่อน้องทุพโภชนาการ อิ่มท้อง สมองแจ่มใส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหรัง

โรงเรียนบ้านต้นปริง

ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาชาติที่สำคัญคือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดอันเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน อันดับแรกของการพัฒนาคน คือการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์สังคม สติปัญญาตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะช่วงวัยเรียน เป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะสม สมองของเขาก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้คือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น เด็กวัยเรียนจึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตที่มีความต้องการสารอาหารครบทุกหมู่ ทำให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบ่งบาน พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาหารเช้าจึงมีความสำคัญมาก จากผลงานวิจัยตีพิมพ์ออกมามากมาย เกี่ยวกับประโยชน์ของการทานอาหารเช้าที่ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็ก ๆ เพราะการที่เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำ จะมีสมาธิและสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่รับประทานอาหารเช้า และจะทำให้เป็นเด็กฉลาดและเก่งขึ้น ดังนั้นอาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับแต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองในปัจจุบัน การใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบไปทำงานออกไปกรีดยางตั้งแต่ตอนกลางคืน บางครอบครัวพ่อแม่รับจ้างจึงต้องไปทำงานตั้งแต่เช้า เด็ก ๆ จึงรับประทานมื้อเช้าเป็นขนม และอาหารที่ไม่มีประโยชน์จากร้านในหมู่บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์และไม่เหมาะสำหรับเด็ก วัยกำลังเจริญเติบโต ทำให้มีเด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย เนื่องจากขาดอาหารสำคัญมื้อแรก
จากปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านต้นปริงจึงเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนทุกคน ให้มีคุณภาพทางด้านร่างกายซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดีจากข้อมูลของนักเรียน ภาคเรียนที่ 1 ในปีการศึกษา 2566 มีนักเรียนทั้งหมด 55 คน พบว่า มีนักเรียนที่มีร่างกายสมส่วน จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 70.90 นักเรียนมีปัญหาภาวะโภชนาการ ผอมและค่อนข้างผอม จำนวน12คน คิดเป็นร้อยละ 21.82 เตี้ยและค่อนข้างเตี้ย 5 คน คิดเป็นร้อยละ 9.09นักเรียนอ้วน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 9.09 ดังนั้นโรงเรียนบ้านต้นปริงจึงจัดทำโครงการอาหารเช้าเพื่อน้องทุพโภชนาการและด้อยโอกาส อิ่มท้อง สมองแจ่มใส เพื่อให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริง ที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ(นักเรียน ผอมและค่อนข้างผอมเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย) จำนวน 17 คน ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริงที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 17 คน ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่

นักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริงที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 17 คน ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารร้อยละ 100

17.00 17.00
2 2. นักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริงที่มีปัญหาภาวะ โภชนาการจำนวน 17 คน มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน

นักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริงที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 17 คน มี น้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐานร้อยละ 80

17.00 17.00
3 3. นักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริงที่มีปัญหาภาวะ โภชนาการจำนวน 17 คน มีพัฒนาการสมวัย

นักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริงที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 17 คน มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 80

17.00 17.00
4 4. นักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริงที่มีปัญหาภาวะ โภชนาการจำนวน 17 คน ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมี สุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง

นักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริงที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 17 คน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการ รับประทานอาหารอย่างถูกต้องร้อยละ 90

17.00 17.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 17
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดทำอาหารเสริมโปรตีน เพื่อน้องทุพโภชนาการ อิ่มท้อง สมองแจ่มใส จำนวน 155 วัน

ชื่อกิจกรรม
1. จัดทำอาหารเสริมโปรตีน เพื่อน้องทุพโภชนาการ อิ่มท้อง สมองแจ่มใส จำนวน 155 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารเสริมโปรตีน 15 บ.x 17 คน x 155 วัน = 39,525 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้จัดทำอาหารเสริมโปรตีน เพื่อน้องทุพโภชนาการ อิ่มท้อง สมองแจ่มใส จำนวน 155 วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39525.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,525.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริงที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 17 คน ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารร้อยละ 100
2. นักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริงที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 17 คน มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 80
3. นักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริงที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 17 คน มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 80
4. นักเรียนในโรงเรียนบ้านต้นปริงที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 17 คน ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องร้อยละ 90


>