กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหรัง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง

ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะทุพโภชนาการเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในทารกและเด็ก อีกทั้งยังเป็นปัจจัยที่ขัดขวางพัฒนาการและสติปัญญาของเด็ก ส่งผลต่อการเกิดโรคเสื่อมเรื้อรังได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในวัยผู้ใหญ่ เด็กที่มีภาวะอ้วนและเตี้ยจะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อปัญหาโรคเสื่อมเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ นอกจากสภาพปัญหาโรคขาดสารอาหารแล้วปัจจุบันยัง พบว่าปัญหาโภชนาการเกินหรือโรคอ้วนมีแนวโน้มสูงขึ้นซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่เร่งดำเนินการแก้ไข เด็กเหล่านี้จะกลายเป็นผู้ใหญ่อ้วน ทำให้เกิดอัตราเสี่ยงสูงต่อโรคบางโรค และเด็กอ้วนจะเฉื่อยชาทำงานช้า ปวดข้อและกระดูกบ่อย ๆ มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและส่งผลกระทบทางจิตใจเป็นอย่างมากจากการที่ร่างกายอ้วน ทำให้ถูกล้อเลียนจากเพื่อนฝูงอาจกลายเป็นเด็กที่มีปมด้อย มีความรู้สึกว่าตนเองต่างไปจากเพื่อน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข ความรู้สึกด้านนี้จะติดตัวไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กแรกเกิด 0 – 6 ปี เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เด็กที่มีคุณภาพ มีการเจริญเติบโตสมวัยและพัฒนาการที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและสติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม พ่อแม่และครอบครัว คือบุคคลที่มีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการอบรมเลี้ยงดู และสร้างเสริมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้แก่เด็กในช่วงวันนี้ การพัฒนาทางร่างกายและสมองจะเจริญเติบโต 80% ของทั้งหมด ปัจจัยที่จะกระตุ้นสมองและระบบประสาท คือ อาหารที่ให้พลังงานและช่วยสร้างเซลล์ประสาท อาหารที่ได้รับควรเป็นอาหารเสริมตามวัย
อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการถือเป็นปัจจัยหลักต่อการเจริญเติบโตและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแต่ปัญหาโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้คือ ภาวะการเจริญเติบโตที่ไม่เป็นไปตามวัย ความเป็นจริงแล้วเด็กวัยนี้ต้องมีความพร้อมในการพัฒนาการทั้ง 4 ด้านแต่จากแบบประเมินผลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในปีการศึกษา 2566 จำนวนนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังทั้งหมด 106คน พบว่า มีนักเรียนที่มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์จำนวน 93คน คิดเป็นร้อยละ 87.74 มีนักเรียนที่มีนำหนักส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 9 คนคิดเป็นร้อยละ 8.49มีนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์จำนวน4 คน คิดเป็นร้อยละ 3.77
ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังได้เล็งเห็นความสำคัญของการได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนและเป็นไปตามวัยจึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลอง หรัง ขึ้น เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่เหมาะสมกับวัยและส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังที่มีความเสี่ยงและภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ

นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง  จำนวน  13 คน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ

13.00 13.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังมีพัฒนาการด้านร่างกายและสมองเจริญเติบโต มีโภชนาการสมวัย

นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง  จำนวน  13  คน มีน้ำหนักส่วนสูง เส้นรอบศีรษะตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข

13.00 13.00
3 3. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี

ผู้ปกครองนักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง  จำนวน  13  คน มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก 0-5  ปี

13.00 13.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 13
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 13 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 13 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600.-บาท = 1,800.- บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 14 คน ๆ ละ 25.-บาท จำนวน 1 มื้อ = 350.-บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์การอบรมจำนวน 13ชุด ๆ ละ 50.-บาท = 650.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดกิจกรรมจัดอบรมผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ  จำนวน 13 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 2 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยการใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปีของกรมอนามัย ก่อนการจัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยการใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปีของกรมอนามัย ก่อนการจัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยการใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปีของกรมอนามัย ก่อนการจัดอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอาหารเสริมให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
จัดอาหารเสริมให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารเสริมโปรตีน เช่น นม ไข่ เป็นต้น จำนวน  9  คน ๆ ละ   15.-บาท จำนวน  226  วัน = 30,510 .- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดอาหารเสริมให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30510.00

กิจกรรมที่ 4 4. จัดกิจกรรมออกกำลังกายให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการสูงกว่าเกณฑ์ในทุก ๆ วัน

ชื่อกิจกรรม
4. จัดกิจกรรมออกกำลังกายให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการสูงกว่าเกณฑ์ในทุก ๆ วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดกิจกรรมออกกำลังกายให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการสูงกว่าเกณฑ์ในทุก ๆ วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามประเมินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยการใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปีของกรมอนามัย เดือนละ 1 ครั้ง (ตลอดโครงการ)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยการใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปีของกรมอนามัย เดือนละ 1 ครั้ง (ตลอดโครงการ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการติดตามประเมินการชั่งน้ำหนัก  วัดส่วนสูง  และแปรผล โดยการใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปีของกรมอนามัย เดือนละ 1 ครั้ง (ตลอดโครงการ)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,310.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กมีโภชนาการและมีน้ำหนักต่ออายุตามเกณฑ์ที่กำหนดพร้อมทั้งมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
2.เด็กได้รับการเฝ้าระวังและติดตามผลที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ
3.ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย
4.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-5ปี


>