กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสุคิริน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลสุคิริน

499 หมู่ 8 ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)

 

26.00
2 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

16.00
3 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ

 

93.00

ยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ข้อ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการและระบบบริการด้านสุขภาพให้มีมาตรฐานในระบบหลักประกันสุขภาพ รวมทังการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการกำกับสถานบริการด้านสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีคุณภาพมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และข้อ 7 สร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของกระบวนการสุขภาพภาคประชาชน รวมทั้งพัฒนามาตรการที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
การพัฒนาด้านสุขภาพในปัจจุบันต้องอาศัยภาคีพันธมิตรทุกภาคส่วนในทุกระดับทุกพื้นที่ และเพื่อทำให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาคีพันธมิตรทุกภาคส่วน และลดความซ้ำซ้อนในระบบการทำงานทั้งด้านงบประมาณ พื้นที่เป้าหมาย ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานสุขภาพ ภาคประชาชนและสร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของกระบวนการสุขภาพภาคประชาชน จึงเห็นควรส่งเสริมให้องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนมีการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ขององค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดการเสริมพลังในการพัฒนาด้านสุขภาพในชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างยิ่งเพราะการพัฒนาจะได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง และกระบวนการดำเนินงานจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ความสำเร็จจะยั่งยืนกว่าการพัฒนาโดยภาครัฐเพียงภาคเดียว จากแนวคิดการพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่10 ของกระทรวงสาธารณะสุข ที่ประกอบด้วยประเด็นยุทธศาสตร์หลักในการสร้างวัฒนธรรมสุขภาพพอเพียง เพื่อสังคมแห่งสุขภาวะ โดยการเสริมสร้างระบบสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็งอย่างพอเพียง พึ่งตนเองและพึ่งพากันได้อย่างเกื้อกูลเพื่อให้เกิดสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันภายใต้ปรัชญาเศรฐกิจพอเพียงบนฐานคิด“สุขภาพดีมาจากสังคมดี” คือ สังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข และพ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550มาตรา 47 กำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดำเนินงานหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น โดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในรูปแบบกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

16.00 21.00
2 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

26.00 10.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

93.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 39

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 21 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน1มื้อ จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน2,100บาท
  • ค่าตอบแทนกรรมการ จำนวน 21 คน ๆ ละ 400 บาท จำนวน 4 ครั้งเป็นเงิน33,600บาท
  • ค่าวัสดุ เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  2. เพื่อพิจารณาออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน
  3. เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
  4. เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด
  5. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมอนุกรรมการกองทุน LTC

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมอนุกรรมการกองทุน LTC
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน1 มื้อ จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน500บาท
  • ค่าตอบแทนอนุกรรมการ LTC จำนวน 10 คน ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน6,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน LTC
  2. เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนLTC ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมคณะอนุกรรมการคัดกรองและติดตามประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมคณะอนุกรรมการคัดกรองและติดตามประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 8 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน  1 มื้อ จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน  400  บาท
  • ค่าตอบแทนอนุกรรมการ จำนวน 8 คน ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน  4,800  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อพิจารณาแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  2. เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการ และประเมินผลโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5200.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อสร้างความเข้าใจในกฎระเบียบ และการดำเนินงานของกองทุน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>