กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน

1.นายสมพงค์ โต๊ะเอียด ตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
2.นายอุหมาด ล่าดี้ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
3.นางสุมลทิพย์ สมัยอยู่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองคลัง
4.นางเกศวรางค์ สารบัญตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข
5.นางสาววนัสนา เต๊ะหมัน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

พื้นที่ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

18.00
2 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)

 

5.00
3 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)

 

6.00
4 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

15.00

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่ต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วงด้วยดี สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3) มาตรา 18(4) (8) (9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสานและกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน รวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคลในพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกร่างหลักเกณฑ์การสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน เป็นเวลา 15 ปี กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำ “โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ประจำปี 2567 ขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนากองทุนให้ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

18.00 0.00
2 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

5.00 10.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

6.00 20.00
4 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

6.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 55

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านควน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านควน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนการประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษากองทุนฯ จำนวน 21 คนๆละ 400.- บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 50,400.- บาท
2.ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง จำนวน 3 คนๆละ 400.- บาท จำนวน 6 ครั้งเป็นเงิน 7,200.- บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดประชุม จำนวน 24 คนๆละ 30.- บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 4,320.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.พิจารณาอนุมัติโครงการงบบริหารจัดการกองทุน ประเภทที่ 4 ปี 2567
2.พิจารณาอนุมัติโครงการ 10(1) 10(2) 10(3) 10(5) 10(6)
3.พิจารณาอนุมัติแผนการเงิน แผนสุขภาพ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านควน ปี 2567
4.สรุปผลการดำเนินงานโครงการปีงบประมาณ 2566
5.สรุปผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านควน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
61920.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 8 คนๆละ 300.- บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 7,200.- บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดประชุม จำนวน 8 คนๆละ 30 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 720.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.พิจารณากลั่นกรองโครงการ 10(1) 10(2) 10(3) 10(5)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7920.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะอนุกรรมการ LCT

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะอนุกรรมการ LCT
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนการประชุมคณะอนุกรรมการ จำนวน 10 คนๆละ 300.- บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 6,000.- บาท
2.ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง จำนวน 3 คนๆละ 300.- บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,800.-บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดประชุม จำนวน 13 คนๆละ 30.- บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 780.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2567 ถึง 15 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.พิจารณาอนุมัติโครงการ แผนการดูแลรายบุคคล รวมถึงค่าใช้จ่ายตามแผนการดูแลรายบุคคลสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8580.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการผู้ขอรับทุน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการผู้ขอรับทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุม จำนวน 35 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 30.- บาท เป็นเงิน 2,100.-บาท
2.ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม จำนวน 35 คนๆละ 60.- บาท เป็นเงิน 2,100.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2567 ถึง 18 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ขอรับทุนได้รับการพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4200.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานกองทุนสำหรับกรรมการกองทุนฯ อนุกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานกองทุนสำหรับกรรมการกองทุนฯ อนุกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในกิจกรรม ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าตอบแทนวิทยากร

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2567 ถึง 21 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กรรมการกองทุน อนุกรรมการกองทุน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกองทุนฯได้รับการพัฒนาศักยพภาพการบริหารจัดการกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 6 จัดซื้อครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงาน

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดซื้อวัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษ A4 ปากกาเคมี ปากกาลูกลื่น กระดาษคลิปชาต เทปกาว เครื่องพิมพ์ ถ่ายเอกสารเข้าเล่ม ฯลฯ เป็นเงิน 10,282.- บาท
2.จัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ All In One สำหรับงานสำนักงาน ตามเกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานการจัดหาอุปกรณ์และระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับเดือนมีนาคม 2566 เป็นเงิน 20,000.-บาท
3.จัดซื้อครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ (ลำโพงล้อลาก) เป็นเงิน 10,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จัดซื้อวัสดุสำนักงานถ่ายเอกสารเข้าเล่มที่ใช้ในการดำเนินงานกองทุนฯ
2.จัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ All In One สำหรับงานสำนักงาน ตามเกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานการจัดหาอุปกรณ์และระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับเดือนมีนาคม 2566
3.จัดซื้อครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ (ลำโพงล้อลาก)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40282.00

กิจกรรมที่ 7 ลงพื้นที่ติดตามประเมินโครงการของคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ติดตามประเมินโครงการของคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ จำนวน 35 โครงการๆละ 300.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ
2.รายงานผลการดำเนินโครงการจากการติดตามประเมินผลโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

กิจกรรมที่ 8 จัดทำแผนสุขภาพชุมชนตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2568

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผนสุขภาพชุมชนตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2568
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุม จำนวน 75 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 30.- บาท เป็นเงิน 4,500.-บาท
2.ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม จำนวน 75 คนๆละ 60.- บาท เป็นเงิน 4,500.-บาท
3.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 เมตร X 2.4 เมตร จำนวน1 ป้าย เป็นเงิน 432.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 สิงหาคม 2567 ถึง 5 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทำให้ทราบปัญหาสุขภาพของพื้นที่
2.สามารถกำหนดแนวทางการแก้ไข ป้องกันปัญหาสุขภาพในพื้นที่ได้
3.สามารถกำหนดทิศทางและแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9432.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 152,834.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถั่วจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.คณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ
2.กลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกสามารถรับงบประมาณ
3.จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)
4.จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ


>