กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. นายเนติกรณ์ ชูเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านนา
2. นายสุทิน สุขแสง รองนายกเทศมนตรีตำบลบ้านนา
3. นายมนพพร เขมะวนิช ปลัดเทศบาลตำบลบ้านนา
4. นางสาวอรวรรณ จันทรธนู เจ้าพนักงานสาธารณสุข
5. นางสาวอุสนา หนูหนุด คนงาน

พื้นที่ ม.1 - ม.12 ต.บ้านนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

ตรวจการปนเปื้อนของแบคทีเรียในอาหาร

18.15

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ การมีสุขภาพที่ดีของประชาชนถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิต การส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย จำเป็นที่ต้องส่งเสริมและสนับสนุนโดยมุ่งเน้นให้คนไทยได้บริโภคอย่างสะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ เทศบาลตำบลบ้านนาได้เห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยโดยได้มีการขับเคลื่อนเรื่องอาหารปลอดภัยมาโดยตลอด
จากการสำรวจร้านอาหารแผงลอย ปี 2566 โดยเทศบาลตำบลบ้านนา ร่วมกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำในพบว่า มีร้านค้าในชุมชนหรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอยบางส่วนยังปฏิบัติไม่ถูกต้องตามสุขลักษณะ เช่น การสวมหมวก สวมผ้ากันเปื้อน หน้ากากอนามัย การล้างมือ และการปฏิบัติตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหารและ อาหารไม่ถูกสุขลักษณะโดยในพื้นที่ตำบลบ้านนา มีร้านอาหาร และแผงลอย 40 ร้าน ผ่านเกณฑ์คุณภาพ จำนวน 10 ร้าน ดังนั้นเพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหารสำหรับร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารและจัดบริการที่สะอาดปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เป็นการลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารเทศบาลตำบลบ้านนาได้จัดโครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร สามารถนำความรู้ไปใช้ในการ ปฏิบัติงานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง-ประกอบอาหารได้ถูกต้อง

ร้อยละของผู้สัมผัสอาหาร มีการพัฒนาเรื่องสุขาภิบาลอาหารได้ถูกต้อง เพิ่มขึ้น

50.00 60.00
2 เพื่อลดตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

18.15 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้สัมผัสอาหาร 50
สถานที่จำหน่ายอาหาร 15

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้สัมผัสอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนx1 มื้อๆละ 35 บาทเป็นเงิน 1,750 บาท
  3. ค่าป้ายโครงการ 1x2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน400 บาท
  4. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50ชุดx 30 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท
  5. ค่าอุปกรณ์สาธิตประกอบการอบรม ได้แก่ - ผ้ากันเปื้อนพร้อมหมวก จำนวน 50 ชุดๆละ 150 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท

- ตัวอย่างผักและผลไม้ (ไม่ใช้งบประมาณ)
- เขียงและมีด (ไม่ใช่งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.ผู้สัมผัสอาหาร เข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คน
ผลลัพธ์
1.ผู้สัมผัสอาหารได้รับความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง สุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
2.ผู้สัมผัสอาหารได้รับอุปกรณ์สาธิตประกอบการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12950.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจประเมินสถานที่จำหน่ายอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินสถานที่จำหน่ายอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้าย Clean Food Good Taste ขนาด 30×30 ซม. จำนวน 15 ป้ายๆละ 300 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
2.ค่าป้ายโฟมบอร์ด(ร้านต้นแบบปลอดโฟมพลาสติก)พร้อมติดตั้ง ขนาด 40*80 ซม.จำนวน 25 ป้ายๆละ 208 บาท เป็นเงิน 5,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
สถานที่จำหน่ายอาหาร/แผงลอย จำนวน 40 ร้าน
ผลลัพธ์
สถานที่จำหน่ายอาหาร/แผงลอย ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สถานที่จำหน่ายอาหารที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขได้รับรองป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste; CFGT) และได้รับการต่ออายุป้ายโดยเทศบาลตำบลบ้านนา จำนวน 15 ร้าน
2.ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ได้มาตรฐาน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 25 ร้าน
3.ประชาชนได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารมากยิ่งขึ้น


>