กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2549ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดำเนินงานหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อให้การบริหารจัดการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดความคล่องตัวและมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน ดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชน เพื่อดำเนินงานในการส่งเสริมสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ และประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งงบประมาณเพื่อจัดบริการสุขภาพให้กับประชาชนได้รวดเร็วและทั่วถึงตามสถานการณ์สุขภาพของชุมชน กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ซึ่งมีหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนจึงต้องมีการบูรณาการกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่ายงานของรัฐ เอกชน รวมทั้งกลุ่มองค์กร ทั้งประชาชนในการร่วมดูแลส่งเสริมป้องกันและสนับสนุนส่งเสริมการดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชนได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง

การบริหารจัดการกองทุนพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ และคณะทำงาน ซึ่งพัฒนาระบบบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชน ที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิตและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมและความต้องการประชาชนในพื้นที่ดังนั้นคณะกรรมการจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจร่วมกันบริหารจัดการกองทุนฯ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.มีการประชุมคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาติดตามงาน            ไม่น้อยกว่า ๔ ครั้ง/ปี
2. โครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอย่างน้อยร้อยละ 90 3. โครงการที่พิจารณาอนุมัติ เป็นไปตามระเบียบกองทุนฯ

0.00
2 2. เพื่อบริหารจัดการกองทุนฯให้เกิดประสิทธิภาพ

1.จัดซื้อจัดหาวัสดุเพียงพอต่อการดำเนินงานบริหารกองทุนฯ 2. คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/เจ้าหน้าที่กองทุนฯได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพมีความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานกองทุนฯ
3.อบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนโครงการอย่างง่ายเพิ่มการ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑.ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
๑.ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

.1ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน      -   ประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา
1. ค่าตอบแทนประชุม 4 ครั้งๆละ ๔๐๐ บาท x 20 คน =32,0๐๐ บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม การประชุม  20 คนๆละ 30 บาท x 4 ครั้ง   = 2,40 บาท

  • ประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ
  1. ค่าตอบแทนประชุม 4 ครั้งๆละ            ๓๐๐ บาท x 5 คน  =  6,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม การประชุม  5 คนๆละ 30 บาท x 4 ครั้ง  = 600 บาท
  • ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ
  1. ค่าตอบแทนประชุม 2 ครั้งๆละ ๓๐๐ บาท x 7 คน =  4,2๐๐ บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม การประชุม 7 คนๆละ 30 บาท x 2 ครั้ง     = 420 บาท
  • ประชุมคณะทำงานการติดตามและประเมินผลโครงการ
  1. ค่าตอบแทนติดตามโครงการ 2 ครั้งๆละ 3๐๐บาท x 10 คน = 6,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม การประชุม 10 คนๆละ 30 บาท x 2 ครั้ง   = 600 บาท
  • ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) 1.ค่าตอบแทนประชุมคณะกรรมการ จำนวน 10 คนๆละ 300 บาท x 2 ครั้ง = 6,00๐ บาท
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ประชุม 10 คนๆละ 30 บาท x 2 ครั้ง    = 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
58820.00

กิจกรรมที่ 2 ๒. จัดซื้อวัสดุ และครุภัณฑ์เพื่อการดำเนินงานกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
๒. จัดซื้อวัสดุ และครุภัณฑ์เพื่อการดำเนินงานกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 จัดซื้อวัสดุ และครุภัณฑ์เพื่อการดำเนินงานกองทุนฯ - จัดซื้อวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ  A๔  แฟ้มเก็บเอกสาร ลวดเสียบกระดาษ ฯลฯ - จัดซื้อครุภัณฑ์ เช่น ตู้เก็บเอกสาร ฯลฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15880.00

กิจกรรมที่ 3 ๓. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้รับงบประมาณ

ชื่อกิจกรรม
๓. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้รับงบประมาณ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน  และผู้รับงบประมาณ (อาทิ คณะกรรมการกองทุนฯ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่รพ.สต.ระดับพื้นที่ ประธานกลุ่ม/ชมรมต่างๆ ครู ศพด. /องค์กรผู้ขอรับทุน)
- ค่าป้ายโครงการขนาด ๑ x 3 เมตร = 450 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร ๖ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาท = ๓,๖๐๐ บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ 30 บาท x ๒ มื้อ = 3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 คนๆละ 100 บาท = 5,000 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ประกอบการอบรม จำนวน 2,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14300.00

กิจกรรมที่ 4 4. กิจกรรมเข้าร่วมประชุม อบรมและสัมนา

ชื่อกิจกรรม
4. กิจกรรมเข้าร่วมประชุม อบรมและสัมนา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเข้าร่วมประชุม อบรมและสัมนาตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลากำหนดการจัดประชุม  ของคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกองทุนเข้าร่วมอบรม
- ค่าลงทะเบียน ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการและอนุกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. การรับเงิน การจ่ายเงินการเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
3. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน


>