กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจสุขภาพประจำปีเคลื่อนที่ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อโรคไต

 

35.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่่ยงเป็นโรคเก๊าท์

 

30.00
3 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไขมันในเลือด

 

27.00
4 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเอ็นไซม์ตับ

 

12.00

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่สุด ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานของบุคลากรในทุกหน่วยงาน ให้มี ประสิทธิภาพ บุคลากรที่มีสุขภาพอนามัยที่ไม่ดี มีผลกระทบต่อหน้าที่การทำงานโดยตรง และมีผลกระทบกับประเทศ กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีการดูแลสุขภาพ และตรวจสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงานเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ กำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการให้บริการ ในเทศบาลตำบลโคกชะงาย มีพนักงาน ลูกจ้าง และบุคลากรของโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ ซึ่งจำเป็นต้องส่งเสริมสุขภาพบุคลากรดังกล่าว เพราะปัจจุบันบุคลากรเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เป็นสาเหตุการป่วย และตายเป็นในอันดับต้นๆของประชากรไทย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องและขาดการดูแลรักษาที่เหมาะสม ทำให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายและงบประมาณของประเทศเป็นจำนวนมาก ทางเทศบาลตำบลโคกชะงาย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพ พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้าง และบุคลากรของโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ จึงได้จัดโครงการตรวจสุขภาพประจำปีเคลื่อนที่ ประจำปี 2567 นี้ขึ้น เพื่อให้พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้าง และบุคลากรของโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ ได้มีการระมัดระวังป้องกันตนเอง ด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ จึงกำหนดให้มีการตรวจสุขภาพ และติดตามดูแลสุขภาพ โดยเน้นการดูแลสุขภาพตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง เพื่อการมีสุขภาพดี มีประสิทธิภาพในการให้บริการและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนวัยทำงานขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคไต โรคเก๊าท์ ไขมันในเลือด และเอ็นไซม์ตับ ร้อยละ 70

ประชาชนวัยทำงาน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคไต โรคเก๊าท์ ไขมันในเลือด และเอ็นไซม์ตับ ร้อยละ 95

70.00 95.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต โรคเก๊าท์ ไขมันในเลือด และเอ็นไซม์ตับ

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต โรคเก๊าท์ ไขมันในเลือด และเอ็นไซม์ตับ

15.00 18.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ของโรคไต โรคเก๊าท์ ไขมันในเลือด และเอ็นไซม์ตับ

อัตราป่วยใหม่ด้วยโรคไต ไม่เกิน 1.5อัตราป่วยใหม่ด้วยโรคเก๊าท์ ไม่เกิน 2.1 อัตราป่วยใหม่ด้วยโรคไขมันในเลือด ไม่เกิน 1.7อัตราป่วยใหม่ด้วยโรคเอ็นไซม์ตับ ไม่เกิน 1.2

12.00 1.50

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 51
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตรวจสุขภาพ (การทำงานของไต โรคเก๊าท์ ไขมันในเลือด เอ็นไซม์ตับ) จำนวน 51 คนๆละ 430 เป็นเงิน 21,930 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มกราคม 2567 ถึง 24 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนวัยทำงาน ที่เข้ารับการตรวจโรคได้รู้ค่าการประเมินโรครายบุคคล เพื่อทำการควบคุมพฤติกรรม การดูแลสุขภาพตามที่แพทย์ให้คำแนะนำต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21930.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 X 2.5 เมตรเป็นเงิน 540 บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1800 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 51 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1275 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2567 ถึง 11 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนวัยทำงาน ได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคไต โรคเก๊าท์ ไขมันในเลือด และเอ็นไซม์ตับ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3615.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 การตรวจคัดกรองสุขภาพซ้ำ / ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองพบว่ายังมีความเสี่ยงพบแพทย์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 การตรวจคัดกรองสุขภาพซ้ำ / ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองพบว่ายังมีความเสี่ยงพบแพทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตรวจสุขภาพ ผู้มีความเสี่ยงซ้ำ จำนวน 15 คนๆละ 430 เป็นเงิน 6450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2567 ถึง 16 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนวัยทำงาน ที่ตรวจพบมีความเสี่ยงจากการตรวจครั้งแรก ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตามที่แพทย์ให้คำปรึกษาได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6450.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 การประมินผล/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 การประมินผล/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การตรวจคัดกรองโรคไต โรคเก๊าท์ ไขมันในเลือด และเอ็นไซม์ตับ 2.ประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงรคไต โรคเก๊าท์ ไขมันในเลือด และเอ็นไซม์ตับ
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1800 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 สิงหาคม 2567 ถึง 23 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนวัยทำงานกลุ่มเสี่ยง สามารถร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และสามารถให้คำแนะนำแก่บุคคลภายนอกในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร และออกกำลังกายได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2175.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนวัยทำงาน ได้รับการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ประจำปี
2. กลุ่มเสี่ยงในการตรวจสุขภาพ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันได้
3. ประชาชนวัยทำงาน สามารถให้คำแนะนำบุคคลภายนอก ให้รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันได้


>