กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 4 ศูนย์ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 4 ศูนย์ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นายพิทักศิษย์ พานิชธนาคม ผอ.กองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตี สิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข
นางสาวนัรกีส ยะปา เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน โทร 083-7502735

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 4 ศูนย์ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็กในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกที่ป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก

รายงานสถานการณ์โรคมือ เท้า ปากในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

10.00
2 ร้อยละของครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก

แบบประเมินความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปากก่อนและหลังอบรม

50.00

โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอไรไวรัส ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในเด็กเล็ก โดยโรคนี้เกิดจากการรับประทานอาหารโดยไม่ล้างมือ การดื่มน้ำ ดูดเลียนิ้วมือ อาการโดยทั่วไป จะมีไข้ เจ็บคอ มีตุ่มพองใสขนาด 1-2 มม. บนฐานจะมีตุ่มสีแดงกระจายอยู่ จะขยายกลายเป็นแผลคล้ายแผลร้อนใน โดยส่วนมากพบที่บริเวณในปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก เพดานอ่อน ลิ้นไก่ มือ เท้า ก้น อวัยวะเพศ เข่า ข้อศอกของผู้ป่วย มักเป็นอยู่นาน 4-6 วัน หลังเริ่มมีอาการ และอาจมีอาการชักจากไข้สูงร่วมด้วย เนื่องจากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมักจะอยู่รวมกันในอาคารเป็นส่วนใหญ่ มีการทำกิจกรรมและการเล่นของเล่นร่วมกัน ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้ง่ายขึ้น
สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย อ้างอิงข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขพบว่าในปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วย 55,978 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 84.60 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุแรกเกิด - 4 ปี (ร้อยละ 75.33) รองลงมาคืออายุ 5 ปี (ร้อยละ 10.22) และอายุ 7 - 9 ปี (ร้อยละ 6.15) ตามลำดับ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปีพ.ศ.2566 นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 10 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 24.88 ต่อประชากรแสนคน ปีพ.ศ.2565 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 10 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 24.88 ต่อประชากรแสนคน และปีพ.ศ.2564 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 0 ราย โดยพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนทั้งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในชุมชน ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้สถานศึกษาปฏิบัติตามมาตรการที่กรมควบคุมโรคกำหนด เพื่อป้องกันการเกิดโรค และการแพร่ระบาดของโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝนของทุกปี (พฤษภาคม - ตุลาคม) และยังเป็นช่วงเปิดภาคเรียน จึงเป็นช่วงเวลาที่พบการแพร่ระบาดของโรคเป็นจำนวนมาก
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขอนามัยเด็กจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองและเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก และลดอัตราการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคมือ เท้า ปากในเด็ก

ร้อยละ 90 ของครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก

50.00 90.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็ก ได้เรียนรู้ขั้นตอน และวิธีการล้างมือที่สะอาด และถูกวิธี

ร้อยละ 90 ของครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กได้เรียนรู้วิธีการล้างมือและการป้องกันตนเองจากโรคมือ เท้า ปากที่ถูกต้อง

50.00 90.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ร้อยละ 80 จำนวนผู้ป่วยโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลงจากเดิม

10.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 370
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
1. ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 40 คน
2. ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน จำนวน 150 คน
3. ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโก-ลกเทพวิมล จำนวน 50 คน
4. ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอะห์มาดียะห์ จำนวน 130 คน
รวมทั้งสิ้น 370 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 4 ศูนย์ และคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
- ประสานวิทยากร และหน่วยงานที่่เกี่ยวข้อง
- จัดเตรียมเนื้อหาเอกสารการจัดอบรม และจัดซื้อวัสดุอุปกรณืที่ใช้ในการอบรม
- จัดทำป้ายโครงการ และจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคมือ เท้า ปากแก่ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก และกิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค ได้แก่ ทักษะการล้างมือที่ถูกต้อง
ดำเนินการจัดอบรม 4 รุ่น ดังนี้
- รุ่นที่ 1 ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 40 คน
- รุ่นที่ 2 ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน จำนวน 150 คน
- รุ่นที่ 3 ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโก-ลกเทพวิมล จำนวน 50 คน
- รุ่นที่ 4 ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอะห์มาดียะห์ จำนวน 130 คน
รวมทั้งหมด 370 คน
กำหนดการ
13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียนและประเมินความรู้ก่อนการอบรม
13.31 - 15.30 น. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปาก การดูแลตนเองและผู้ป่วย วิธีการป้องกันโรค และสาธิตวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง
15.31 - 16.00 น. ซักถามแลกเปลี่ยนข้อมูล และประเมินความรู้หลังการอบรม งบประมาณ
- ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน x 600 บาท x 3 ชม. x 4 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 370 คน x 30 บาท เป็นเงิน 11,100 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการอบรม จำนวน 370 คน x 30 บาท เป็นเงิน 11,100 บาท
- ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปากและการป้องกันที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค และกิจกรรม Big Cleaning Day ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค และกิจกรรม Big Cleaning Day ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ตัวแทนเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 ศูนย์ ศูนย์ละ 30 คน รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรม 120 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค ได้แก่ ทักษะการล้างมือที่ถูกต้อง เป็นต้น โดยจะจัดกิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตัวเองหลังกิจกรรมเคารพธงชาติ
- กิจกรรมทำความสะอาดสถานที่ ของเล่น / ของใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทุกสัปดาห์ๆละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 เดือน (รวมเป็นจำนวน 4 ครั้ง) เพื่อป้องกันการระบาดของโรคมือ เท้า ปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคมือ เท้า ปาก โดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดห้องเรียน และอุปกรณ์เครื่องใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พร้อมสบู่เหลวล้างมือ
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.01 - 10.00 น. กิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค
10.01 - 12.00 น. กิจกรรม Big Cleaning Day ทำความสะอาดสถานที่ ของเล่น / ของใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครั้งที่ 1
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน x 30 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการอบรม เป็นเงิน 1,000 บาท
- น้ำยาทำความสะอาด จำนวน 8 แกลอน (ศพด.ละ 2 แกลอน) x 750 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
- สบู่เหลวล้างมือ จำนวน 40 ขวด (ศพด.ละ 10 ขวด) x 75 บาท 3,000 บาท
- ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทำความสะอาดเป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก มีความตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินการป้องกันโรคมือ เท้า ปากอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,200.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคมือ เท้า ปากในเด็ก
2. ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กได้เรียนรู้ขั้นตอน และวิธีการล้างมือที่สะอาดและถูกวิธี
3. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก


>