กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

๑. นายบุญทศประจำถิ่น
๒. นางดรรชนีเขียนนอก
๓. นางระพีพรรณสว่างแสง
๔. นางสาวสุวรรณีภูมูล
๕. นางสาวพจนีย์ฝุ่นทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

“มะเร็งปากมดลูก” นับเป็นภัยร้ายที่พบมากในหญิงไทยรองลงมาจากมะเร็งเต้านม หลักๆ แล้วมะเร็งปากมดลูกนั้นมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) จากสถิติ ปี 2563 พบว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วยใหม่ปีละกว่า 9,000 ราย เสียชีวิตปีละ 4,700 ราย หรือเท่ากับว่าในแต่ละวันจะมีหญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกถึง 13 คน ระบบสาธารณสุขไทยไม่นิ่งนอนใจกับปัญหาดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่เปิดให้หญิงไทยทุกคนทุกสิทธิสามารถเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกกันฟรีๆ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า “แปปสเมียร์ (Pap Smear)” และอีกหนึ่งเทคนิคนั่นก็คือ “HPV DNA Test” ที่จะมีประสิทธิภาพความแม่นยำสูงกว่าเทคนิคแรก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย ได้เริ่มโครงการเชิงรุก “รณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test” สำหรับหญิงไทยอายุ 30 - 60 ปีทุกสิทธิ ในปี 2563 – 2565เป็นต้นมา ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คิดเป็นร้อยละ 41.06 เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 60ซึ่งยังต้องดำเนินการค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการตรวจ มารับการตรวจเพิ่ม เพื่อเป็นการค้นหาผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มต้น ไม่ให้เกิดการลุกลามของโรค ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ (บอร์ด สปสช.) ที่เห็นชอบให้เพิ่ม “สิทธิประโยชน์การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test” ทดแทนการตรวจด้วยวิธี Pap smearโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่กลุ่มสตรีดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพื่อเพิ่มเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงไทยทุกคนและส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างครบวงจร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจและขึ้นทะเบียน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและขึ้นทะเบียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจและขึ้นทะเบียน  สตรี อายุ ๓๐ -๖๐ ปีในเขตตำบลสงเปือย -ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2566 ถึง 14 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทะเบียนรายชื่อสตรีอายุ ๓๐ -๖๐ ปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฎิบัติการให้แก่สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฎิบัติการให้แก่สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐  น.     -  ลงทะเบียน ๐๘.๓๐ – ๐๙.๓๐ น.    -  พิธีเปิดการประชุมและมอบนโยบาย
                                   (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย) ๐๙.๓๐ – ๑๐.๓๐ น.    -   สถานการณ์โรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม                                   (วิทยากรจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่อ)
๑๐.๔๕ – ๑๑.๓๐ น.      -  การตรวจด้วยวิธี HPV DNA test
                                   (วิทยากรจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกุง)
๑๑.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.    -  การตรวจด้วยวิธี HPV DNA test แบบเก็บตัวอย่างเอง                                    (วิทยากรจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนทัน)
๑๓.๐๐ –  ๑๕.๓๐น.  -   การตรวจเต้านมด้วยตนเอง แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ                                     (วิทยากรจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย)
๑๕.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.      -   สรุปและอภิปรายผล ค่าใช้จ่าย  -ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน ๘๐ คนๆละ ๕๐ บาท  เป็นเงิน  ๔,๐๐๐ บาท              - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน ๘๐ คนๆละ ๒๕บาท จำนวน ๒ มื้อ  เป็นเงิน  ๔,๐๐๐ บาท              - ค่าป้ายโครงการ   เป็นเงิน  ๔๕๐ บาท            รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๘,๔๕๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2566 ถึง 20 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ  ๓๐ -๖๐ ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 60
๒. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ  ๓๐ -70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องเป็นประจำทุกเดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8450.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตรวจคัดกรอง
  • ส่งชุดตรวจแปลผลการตรวจมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test -  แจ้งผลการตรวจแก่กลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี -ไม่มีค่าใช้จ่าย-
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 กรกฎาคม 2566 ถึง 21 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยโดยสูติแพทย์และได้รับการรักษาตามมาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ๓๐ -๖๐ ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 60
2. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ๓๐ -70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่าง ถูกต้องเป็นประจำทุกเดือน
3. สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยโดยสูติแพทย์และได้รับการรักษาตามมาตรฐาน


>