กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันเด็กจมน้ำ ตะโกน โยน ยื่น

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสงเปือย

๑.นางสาวอรทัยหลักแก้ว
๒.นางอรวรรณหาญชนะ
๓.นางพัชรินทร์บุญพร
๔.นางมลัยลักษณ์จันทสิงห์
๕.นางพิสมัยบุญก่ำ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุ่งหวาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่แผนยุทศาสตร์ชาติ 20 ปี(ด้านสาธารณสุข) ได้กำหนดให้มีการลดการเสียชีวิตการจมน้ำของเด็กเป็นเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญที่จะส่งผลให้อายุค่าเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life Expectancy : LE) ไม่น้อยกว่า 85 ปี และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี (Heatth Adjusted Life Expectancy : HALE) ไม่น้อยกว่า 75 ปี โดยในระยะที่(ปี 2560 2564) ได้กำหนดเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมนำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีให้ลดลงเหลือ 3 0 ต่อแสนประขากร (ประมาณ 360 คน) ภายในปี 2564 ซึ่งในปี2560 อัตราการเสียชีวิตของเด็กอยู่ที่ 6 3 หรือ 717 คน จากข้อมลเบื้องต้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยลายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ ในช่วงปี พ.ศ 2552-2561 พบมีเด็กจมน้ำเฉลี่ยสูงถึง 904 คน/ปี หรือวันละ 2 5 คน ช่วงเตือนมีนาคม พฤษภาคม จะเป็นช่วงทีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตเป็นกลุ่มในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเด็กมักจะขวนกันไปเล่นน้ำกันเองตามลำพังและขาดทักษะการเอาชีวิตรอดและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง (ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ)กระทรวงมหาดไทยได้กำชับทุกหน่ายงานเพิ่มมาตรการดูแลความปลอดภัยแหล่งน้ำในพื้นที่ เพื่อป้องกันเด็กจมน้ำและเร่งสร้างทีมเครือข่ายผู้ก่อการดีของอำเภอในจังหวัด และพิจารณาให้ดำเนินการเรื่องการป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัย โดยให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบรรจุเรื่องการป้องกันจมน้ำให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสียง เน้นการ "อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม" และการตะโกนขอความช่วยเหลือ สำหรับเขตพื้นที่ตำบลสงเปือย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560-2562 ไม่พนข้อมูลว่ามีเด็กจมน้ำเสียชีวิตดังนั้น เพื่อให้เป็นตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 (ด้านสาธารณสุข) รวมทั้งเป็นการป้องกันและกระตุ้นเตือนเรื่องการจมน้ำ เสียชีวิตของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ตำบลสงเปือยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย จึงใด้จัดทำโครงการป้องกันเด็กจมน้ำตะโกนโยนยื่นประจำปี2566ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อฝึกอบรมและปฏิบัติให้ความรู้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ
2. เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของประเด็นปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ
3. เพื่อสร้างทักษะให้กับเด็กในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 37
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 23
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/09/2023

กำหนดเสร็จ 27/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ฝึกอบรมและปฏิบัติให้ความรู้ผู้ปกครองในการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ
  • ฝึกทักษะให้เด็กในการช่วยเหลือตนเองจากการจมน้ำ ค่าใช้จ่าย
  • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม    เป็นเงิน 3,000.00 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม    เป็นเงิน 3,000.00 บาท
  • ค่าวัสดุ  เป็นเงิน 6,000.00 บาท
  • ค่าสัมนาคุณวิทยากร    เป็นเงิน 7,500.00 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล  เป็นเงิน 500.00 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 20,000.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กันยายน 2566 ถึง 27 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครอง ครู มีความรู้และการปฏิบัติที่เพิ่มขึ้นในการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ
  2. ผู้ปกครอง เด็กก่อนวัยเรียน ครู ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ
  3. ผู้ปกครอง เด็กก่อนวัยเรียน ครู มีทักษะในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินผลสรุปผลการจัดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลสรุปผลการจัดกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ผู้ปกครองตอบแบบสอบถามการทำกิจกรรม
  • ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถนำข้อมูลและข้อเสนอแนะไปพัฒนาการจัดกิจกรรมอบรมในครั้งต่อไปได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง ครู ผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องมีความรู้และการปฏิบัติที่เพิ่มขึ้นในการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ
2. ผู้ปกครอง เด็กก่อนวัยเรียน ครู ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ
3. ผู้ปกครอง เด็กก่อนวัยเรียน ครู มีทักษะในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ


>