กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยห่างไกลโรค มือ เท้า ปาก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดดารุลอิฮซาน

1. น.ส. บัลกิส​หะแว​
2.น. ส. ฟารีดา​ วาจิ

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดดารุลอิฮซาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

 

0.00

โรค มือ เท้า ปาก เกิดจากโรคไวรัสในลำไส้มนุษย์ กลุ่ม Enterovirus ซึ่งพบเฉพาะในมนุษย์เท่านั้นและมีหลากหลายสายพันธ์ุสำหรับสายพันธุ์ที่ก่อโรคมือ เท้า ปาก ได้แก่ Coxsackie virus เพนีย A,B และEnterovirus 71 ลักษณะของโรค:ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการป่วย หรืออาจพบอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดศรีษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย เป็นต้น โดยจะปรากฏอาการดังกล่าวอยู่ 3-5 วัน แล้วหายได้เอง หรือมีอาการไข้ ร่วมกับตุ่มพองเล็กๆเกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก โดยตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ อาจมีน้ำลายไหล ในบางรายอาจไม่พบตุ่มพองแต่อย่างไร แต่บางรายจะมีอาการรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อ (aseptic meningitis) ที่ไม่รุนแรง หรือมีอาการคล้ายโปลิโอส่วนที่รุนแรงมากจนอาจเสียชีวิตจะเป็นแบบสมองอักเสบ(encephalitis) ซึ่งมีอาการอักเสบส่วนก้านสมอง(brain stem)อาการหัวใจวายและ/หรือมีภาวะน้ำท่วมปอด(acute pulmonary edema)วิธีการแพร่โรค:เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางปากโดยตรง โดยเชื้อจะติดมากับมือ ภาชนะที่ใช้ร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ หรือของเล่น ที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพอง แผลในปาก หรืออุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ทั้งนี้ เชื้ออาจอยู่ใน อุจจาระของผู้ป่วยได้เป็นเดือน(พบมากในระยะสัปดาห์แรก) ทำให้ผู้ป่วยยังคงสามารถ แพร่กระจายเชื้อได้ ดังนั้นศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ ประจำมัสยิดดารุลอิฮซาน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านสุขภาพของเด็ก จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยห่างไกลโรคมือเท้าปากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้บุคลากรและผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง ในการระวังป้องกันโรค มือเท้า ปาก2.เด็กปฐมวัย ได้รับการดูแลจากผู้ปกครองและบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล้ก สามารถให้การดูแลเด็กป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ผู้ปกครองนักเรียนศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดดารุลอิฮซาน จำนวน 47 คน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 26
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/09/2024

กำหนดเสร็จ 17/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยห่างไกลโรค มือ เท้า ปาก

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยห่างไกลโรค มือ เท้า ปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ขั้นเตรียมการ

1.เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตะบิ้ง เพื่อขออนุมัติสนับสนุนงบประมาณ

2.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับจัดทำโครงการ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือ หรือเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ

3.ติดต่อประสานงานวิทยากร และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

4.จัดสถานที่สำหรับจัดกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบถึงวัน เวลา และสถานที่การจัดกิจกรรม

2.ขั้นตอนดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การจัดกิจกรรม อบรมให้ความรู้ เรื่อง โรค มือเท้า ปาก โดยการอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครองและครู . รายละเอียดค่าใช้จ่าย

1.ค่าวิทยากร 1 ท่าน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

2.ค่าไวนิลขนาด 1*3 เมตร เป็นเงิน 1,050 บาท

3.ค่าแฟ้มเอกสาร 26 คน ราคา20 บาท เป็นเงิน 520 บาท

4.ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 60 ชุดๆละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

5.เจลล้างมือ จำนวน 12 ขวด ราคา 100 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

6.นำ้ยาฆ่าเชื้อโรค จำนวน 6 ขวด ราคา 520 บาท เป็นเงิน 3,120 บาท

7.ไม้ถูพื้นถังปั่น จำนวน 2 ชุด ราคา 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

8.ปากกา จำนวน 26 แท่ง ราคา 10 บาท เป็นเงิน 260 บาท

  1. สมุด จำนวน 26 เล่ม ราคา 10 บาท เป็นเงิน260 บาท

รวมทั้งสิ้น 10,710 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กันยายน 2567 ถึง 12 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10710.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การจัดกิจกรรมการล้างมือ 7 ขั้นตอน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การจัดกิจกรรมการล้างมือ 7 ขั้นตอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ทดสอบความรู้ก่อนอบรม 2..วิทยากรให้ความรู้และสาธิตการล้างมือ 7 ขั้นตอน 3.ให้ผู้ปกครองและเด็กล้างมืออย่างถูกวิธี 4.ทดสอบความรู้หลังอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กันยายน 2567 ถึง 12 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,710.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

บุคลากรและผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันโรค มือเท้า ปาก และไม่มีเด็กป่วยด้วยโรค มือ เท้า ปาก


>