กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ขุนตัดหวาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ลด ละ โรค บริโภคปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ขุนตัดหวาย

โรงเรียนบ้านทุ่งนาเคียน

1. นางสาวปรียา สินดุกา
2. นางสาวฮายาด เหล็มเส็น
3. นางสาวอลิซเซีย หมีโดด
4. นายมะยูกี เจะและ
5. นางสาวศิรินทิพย์ หลำเอียด

โรงเรียนบ้านทุ่งนาเคียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครู นักเรียน และบุคลากรในโรงเรียนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน

 

60.00
2 ร้อยละของนักเรียนมีความเสี่ยงและขาดความตระหนักในการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย

 

60.00

ปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทย พบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุปัจจัยเสี่ยงหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม อาหารที่ไม่ปลอดภัยมีสารปนเปื้อน อาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน อาหารแปลกปลอมและอาหารสุกๆดิบๆ และจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนไปนิยมบริโภคอาหารปรุงสุกหรืออาหารถุง เนื่องจากไม่มีเวลา สะดวกและประหยัดกว่า ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้ จากการวิเคราะห์สภาะปัญหาสุขภาพของนักเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน

60.00 80.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนมีความตระหนักในการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความตระหนักในการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

60.00 80.00

2. เพื่อให้นักเรียนมีความตระหนักในการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูและบุคลากรทางการศึกษา 25
นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนาเคียน 115

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2024

กำหนดเสร็จ 16/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฐานโภชนาการที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
ฐานโภชนาการที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน ประสานงานขั้นเตรียมการกับผู้ที่เกี่ยวข้องและเสนอขออนุมัติโครงการ จัดเตรียมเจ้าหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรม จัดเตรียมสถานที่พิธีเปิด – พิธีปิด จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมฐาน โภชนาการที่ถูกต้อง ดำเนินงานตามโครงการ ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 มื้อ เช้า-เย็น จำนวน 35x2=70 (นักเรียน,คุณครู,วิทยาการและผู้เกี่ยวข้อง140 คน) จำนวน 140x70 =9,800 บาท ค่าป้ายโครงการ(ป้ายไวนิล 23 เมตร ) จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท ค่าตอบแทนวิทยากร 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 16 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนาเคียนได้เข้าร่วมกิจกรรมลด ละ โรค บริโภคปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ในกิจกรรมฐานโภชนาการที่ถูกต้องร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13400.00

กิจกรรมที่ 2 ฐานอาหารไทยใส่ใจคุณค่า

ชื่อกิจกรรม
ฐานอาหารไทยใส่ใจคุณค่า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน ประสานงานขั้นเตรียมการกับผู้ที่เกี่ยวข้องและเสนอขออนุมัติโครงการ จัดเตรียมเจ้าหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรม จัดเตรียมสถานที่พิธีเปิด – พิธีปิด จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมฐาน อาหารไทยใส่ใจคุณค่า ดำเนินงานตามโครงการ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมฐานทดลองอาหารไทยใส่ใจคุณค่า จำนวน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 16 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนาเคียนได้เข้าร่วมกิจกรรมลด ละ โรค บริโภคปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ในกิจกรรมฐานอาหารเพื่อสุขภาพร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 3 ฐานหญ้าหวาน ต้านโรค

ชื่อกิจกรรม
ฐานหญ้าหวาน ต้านโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน ประสานงานขั้นเตรียมการกับผู้ที่เกี่ยวข้องและเสนอขออนุมัติโครงการ จัดเตรียมเจ้าหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรม จัดเตรียมสถานที่พิธีเปิด – พิธีปิด จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมฐาน การทำน้ำดื่มสมุนไพรจากหญ้าหวานแทนการใช้น้ำตาล ดำเนินงานตามโครงการ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมฐานหญ้าหวาน ต้านโรค จำนวน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 16 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนาเคียนได้เข้าร่วมกิจกรรมลด ละ โรค บริโภคปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ในกิจกรรมฐานน้ำดื่มสมุนไพรร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 4 ฐานการทดลองสารบอแรกซ์ในอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ฐานการทดลองสารบอแรกซ์ในอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน ประสานงานขั้นเตรียมการกับผู้ที่เกี่ยวข้องและเสนอขออนุมัติโครงการ จัดเตรียมเจ้าหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรม จัดเตรียมสถานที่พิธีเปิด – พิธีปิด จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมฐาน การทดลองสารบอแรกซ์ในอาหาร ดำเนินงานตามโครงการ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมฐานการทดลองสารบอแรกซ์ในอาหาร จำนวน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 16 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนาเคียนได้เข้าร่วมกิจกรรมลด ละ โรค บริโภคปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ในกิจกรรมฐานการทดลองสารบอแรกซ์ในอาหาร ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามประเมินผลเชื่อมโยงพฤติกรรมสู่การปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลเชื่อมโยงพฤติกรรมสู่การปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามประเมินผลหลังจากการทำกิจกรรมครบทั้ง 4 ฐาน โดยรูปแบบสืบส่องโภชนาการเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติทุกวันศุกร์ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน เพื่อเป็นการกระตุ้นพฤติกรรมการบริโภคของเด็กนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2567 ถึง 16 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนาเคียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยลดน้อยลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน
2. นักเรียนมีความตระหนักในการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. นักเรียนมีความใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และปลอดภัย


>