กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตันหยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กไทยอ่อนหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตันหยง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล้กเทศบาลตำบลตันหยง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลตันหยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินสมควร นำมาซึ่งปัญหาทางสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กแล้ว การบริโภคอาหารหวานมากเกิน เป็นต้นเหตุหนึ่งของปัญหาโภชนาการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและภาวะโภชนาการเกินยังนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคฟันผุ ฯลฯ อันเป็น สาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยของประชากรในปัจจุบันซึ่งทำให้รัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้กับประชากรที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเหล่านี้เป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นที่จะสนับสนุนให้เกิดกระบวนการสร้างสุขภาพตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อให้ประชาชนหันมาใส่ใจดูแล และมีความตระหนักในการสร้างสุขภาพของเด็กเล็กให้มีความแข็งแรง ปราศจากโรคที่สามารถป้องกันได้ เป็นการสร้างสุขภาพมากกว่าซ่อมสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑.เพื่อปลูกฝังเด็กให้มีนิสัยการรับประทานอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เด็กไทยไม่กินหวาน เป้าหมาย เด็กใน ศพด.
2.เพื่อให้ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครองที่บ้านได้รับทราบถึงผลกระทบของการบริโภคหวานเกินความจำเป็น
3.สร้างเครือข่ายเป็นฐานในการร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะ ระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของเด็ก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 27
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/10/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้เรื่องโภชนาการในเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
การให้ความรู้เรื่องโภชนาการในเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับ 1.น้ำตาลกับโรคฟันผุ 2.นำ้ตาลแหล่งพลังงานที่ว่างเปล่า 3.ภัยจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป 4.ปริมาณที่แนะนำเพื่อสุขภาพ 5.น้ำตาลในนมและเครื่องดื่ม 6.การติดหวาน 7. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ จากงบประมาณมี  รายละเอียด  ดังนี้     - ค่าวิทยากร 1 ท่านๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท                             เป็นเงิน    900  บาท     - ค่าป้ายไวนิวโครงการฯ ขนาดกว้าง ๑.๐๐คูณยาว ๓.๐๐   เมตร    เป็นเงิน  450 บาท
    - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 31 คนๆละ 35 บาท     เป็นเงิน 1,085  บาท
                                                                                  รวมเป็นเงิน   2,435 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อปลูกฝังเด็กให้มีนิสัยการรับประทานอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เด็กไทยไม่กิน  หวาน เป้าหมาย เด็กใน ศพด.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2435.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 2,435.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กเกิดการปลูกฝังเด็กให้มีนิสัยการรับประทานอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เด็กไทยไม่กินหวาน เป้าหมาย เด็กใน ศพด.
2.ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครองที่บ้านได้รับทราบถึงผลกระทบของการบริโภคหวานเกินความจำเป็น
3.สร้างเครือข่ายเป็นฐานในการร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะ ระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของเด็ก


>