กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

กลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลพัทลุง

โรงเรียนวัดควนแร่ และ โรงเรียนอนุบาลเมืองพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะอ้วน

 

8.98

โรคอ้วนและการมีภาวะโภชนาการเกิน นับว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่มีความสำคัญอันดับต้นๆปัญหาหนึ่งในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งปัจจุบันปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ในวัยเด็กก็มีให้เห็นมากขึ้นเป็นลำดับ โดยข้อมูลจาก HDC กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีจำนวนเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ในเขตพื้นที่ ตำบลคูหาสวรรค์ อยู่จำนวน 433 คน คิดเป็นร้อยละ 8.98 ซึ่งปัจจุบันเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายเป็นที่ยอมรับว่ามีความสำคัญต่อร่างกายของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แต่ควรให้เหมาะสม ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะในวัยเด็ก ปัญหาดังกล่าว อาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนและเป็นปัญหาที่ควรแก้ไขให้ต่อเนื่อง
ดังนั้นกลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลพัทลุง จึงจัดกิจกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและสร้างนิสัยรักการออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสม มีร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคและช่วยลดภาวะโภชนาการเกินได้อีกทางหนึ่ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะอ้วนในเด็ก 6-14 ปี

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะอ้วน

8.98 5.00

1.เพื่อลดภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียน
2.เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับนักเรียนในด้านอาหารและการออกกำลังกาย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 112
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะในเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะในเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้และพัฒนาทักษะในเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง 1.อาหารว่าง 112 คนๆละ 30 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3,360 บาท 2.คู่มือ 113 เล่มๆละ30 บาท เป็นเงิน3,390 บาท(นักเรียน 112+วิทยากร 1)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีความรู้ในการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 2.เลือกออกกำลังกายได้ถูกต้องและเหมาะสมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6750.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามระยะ 1 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามระยะ 1 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามระยะ 1 เดือน ชั่งน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมรายกลุ่มและให้คำแนะนำด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย อาหารว่าง 112 คนๆละ 30 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3,360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 28 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายได้ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3360.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามระยะ 2 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามระยะ 2 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามระยะ 2 เดือน ชั่งน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมรายกลุ่มและให้คำแนะนำด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย อาหารว่าง 112 คนๆละ 30 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3,360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายได้ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3360.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามระยะ 3 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามระยะ 3 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามระยะ 3 เดือน ชั่งน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมรายกลุ่มและให้คำแนะนำด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย อาหารว่าง 112 คนๆละ 30 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3,360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายได้ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3360.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,830.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายมีน้ำหนักลดลง ร้อยละ 5
2.มีความรู้ในการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20
3.เลือกออกกำลังกายได้ถูกต้องและเหมาะสมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20


>