กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลร่มเมือง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมส่งเสริมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลร่มเมือง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ

1. นายสรพงษ์ ชูเพชร
2. นายสุรศักดิ์ จันทร์กลับ
3. นางวลัยลักษณ์ ผะดุง
4. นางสาววัชรี สุขกาญจนะ
5. นางสาวสิริฉาย ละเอียด

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อ เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดติดต่อถึงกันได้ระหว่างบุคคล โดยมีเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆเป็นสาเหตุของโรค และถึงแม้ว่าเชื้อโรคจะเป็นตัวก่อเหตุ แต่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ก็เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคติดต่อนั้นๆขึ้น
ปัจจุบันปัญหาโรคติดต่อ ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะสุขภาพ ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้เร็วขึ้น สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (โรคไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางระบบหายใจ (โรคไข้หวัดใหญ่) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ (โรคอุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (ฉี่หนู, มือ เท้า ปาก) เป็นต้น เพื่อระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน ดังนั้นทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำตำบลร่มเมืองอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และการได้รับความรู้เรื่องโรคติดต่อแก่อสม. เพื่อการดูแลส่งเสริมสุขภาพของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้จัดทำโครงการอบรมส่งเสริมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน ปี 2567 เพื่อให้อสม.เกิดการเรียนรู้และได้รับความรู้เรื่องโรคติดต่ออย่างถูกต้อง สามารถป้องกันตนเองและคนในชุมชนไม่ให้เกิดโรคติดต่อได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และได้รับความรู้เรื่องโรคติดต่ออย่างถูกต้องและเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้และได้รับความรู้เรื่องโรคติดต่ออย่างถูกต้องและเหมาะสม อย่างน้อยร้อยละ 60

0.00
2 เพื่อให้สามารถป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายสามารถป้องกันตนเองอย่างถูกต้องและเหมาะสม อย่างน้อยร้อยละ 60

0.00
3 เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดได้ถูกต้อง อย่างน้อยร้อยละ 60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่/อสม.เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงาน
  2. เสนอขออนุมัติโครงการต่อประธานกองทุน ฯ
  3. เตรียมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เข้ารับการอบรม
  4. ติดต่อวิทยากรและกำหนดวันที่จัดการอบรม
  5. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและการป้องกันโรคติดต่อ
  6. สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน งบประมาณจากหลักประกันสุขภาพ งบประมาณ
  7. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 วัน วันละ 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท
  8. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 3 วัน วันละ 1 มื้อ มื้อละ 70 บาท จำนวน 65 คน เป็นเงิน 13,650 บาท
  9. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 3 วัน วันละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 65 คน เป็นเงิน 9,750 บาท รวมเป็นเงิน 34,200  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  2. ได้มีความรู้เรื่องโรคติดต่อ
  3. สามารถป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรคติดต่อได้
  4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายได้เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
2. ได้มีความรู้เรื่องโรคติดต่อ
3. สามารถป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรคติดต่อได้
4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง


>